Posted on Leave a comment

การ “นวดแก้ปวดเข่า” ช่วยบรรเทาอาการปวดได้อย่างดีเยี่ยม

นวดแก้ปวดเข่า

วิธีแก้อาการปวดเข่า

แก้อาการปวดเข่า ซึ่งถือเป็นอาการยอดฮิตของคนทำงานในยุคปัจจุบันที่ดูเผินๆ เหมือนเป็นเรื่องปกติธรรมดา แต่กลับแฝงอันตรายมากกว่านั้น เพราะอาจนำไปสู่ภาวะเสื่อมของกระดูกสันหลัง กระดูกสันหลังอักเสบ หมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อน หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท หรืออาการอื่นๆ ที่รุนแรงจนถึงขั้นต้องผ่าตัดเพื่อทำการรักษา

การนวดและการประคบเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการเยียวยาอาการปวดเข่าที่หลายๆ ท่านต่างชอบใจ เพราะเวลาที่ได้นวดแต่ละครั้ง นอกจากจะช่วยให้อาการปวดลดลงได้แล้ว เรายังได้ความสบายเนื้อสบายตัวเป็นของแถมในหนังสือเรื่อง คัมภีร์รักษาอาการปวดด้วยตัวเองสำนักพิมพ์อมรินทร์สุขภาพ เขียนโดย อาจารย์มานพประภาษานนท์ นักกายภาพบำบัด อธิบายว่า การนวดและการประคบ เป็นวิธีรักษาอาการปวดที่ทำได้ด้วยตัวเองโดยการนวดกดจุดที่ปวดและยืดกล้ามเนื้อตรงตำแหน่งนั้น จะช่วยให้กล้ามเนื้อบริเวณนั้นผ่อนคลาย ส่วนการประคบ หากเป็นการประคบร้อนจะทำให้เส้นเลือดขยายตัว จึงช่วยคลายกล้ามเนื้อได้ แต่ถ้าหากประคบเย็น จะทำให้เส้นเลือดหดตัว การไหลเวียนของเลือดช้าลง จึงช่วยลดการบาดเจ็บที่เกิดจากการอักเสบได้ดี

เพราะร่างกายมีพลังในการเยียวยาตนเอง ดังนั้น อาการปวดหลัง เอว และขา ที่เป็นเล็กๆ น้อยๆ อย่ารีบไปพึ่งพาใคร เนื่องจากเราสามารถบรรเทาอาการเหล่านั้นได้ด้วยตัวเอง

วิธีแก้ปวดเข่าเสื่อม

ผู้ช่วยศาสตราจารย์(พิเศษ) ดร.นายแพทย์ธวัชชัย กมลธรรม อธิบดีกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก อธิบายไว้ในหนังสือคู่มือการนวดและการใช้อุปกรณ์ช่วยนวดด้วยตนเอง โดยกลุ่มงานการนวดไทย ว่า

“เราสามารถคลายปวดเมื่อยได้ด้วยตนเอง เพียงใช้สองมือกดและบีบเพื่อช่วยเพิ่มการไหลเวียนของโลหิต ทําให้ต่อมและอวัยวะต่างๆ ทํางานได้ดีขึ้น ไม่จําเป็นต้องพึ่งยา ช่วยประหยัดค่ารักษาพยาบาล ประหยัดเวลา และเป็นพื้นฐานในการส่งเสริมให้เราหันมาใส่ใจสุขภาพ”สําหรับการนวดหลัง เอว และขา คุณสามารถใช้นิ้วหัวแม่มือ ฝ่ามือ ศอก หรืออวัยวะที่ถนัดนวดตัวเองได้ ซึ่งควรเริ่มจากกดนวดเพียงเบาๆ แล้วเพิ่มน้ำหนักขึ้นตามความเหมาะสม

วิธีแก้อาการปวดเข่า

หายใจเข้า-ออกช้าๆ จนร่างกายผ่อนคลาย จากนั้นหายใจเข้าช้าๆ ตามดูลมหายใจที่ผ่านจมูกจนค่อยๆ เข้าสู่ปอด ตามดูจนอากาศเต็มปอด หลังจากนั้นค่อยๆ หายใจออกทางปาก

หลังจากฝึกหายใจจนผ่อนคลายแล้วให้อบอุ่นร่างกายด้วยการบริหารเบาๆ อย่างยืนแกว่งแขน เอียงศีรษะ หมุนเอว หมุนข้อเท้า และกระดกปลายเท้า จะช่วยให้การนวดตัวเองทําได้ง่ายขึ้นนวดตัวเอง คุณอาจเริ่มนวดตัวเองจากไหล่มาที่คอ แผ่นหลัง นวดไล่กลับขึ้นไปบนศีรษะ ใบหน้า คิ้ว แล้วมานวดที่ขาและแขน การนวดช่วยให้ร่างายผ่อนคลายโดยเฉพาะกล้ามเนื้อที่ตึงจากความเครียด

นอกจากนี้ คุณก็ควรขยับนิ้วเท้าเพื่อช่วยให้ร่างกายกระปรี้กระเปร่าขึ้นได้ในพริบตา โดยการขยับนิ้วเท้าขึ้น-ลง จะช่วยกระตุ้นระบบไหลเวียนเลือด ส่งผลให้ออกซิเจนและกลูโคสซึ่งเป็นพลังงานของร่างกายไหลเวียนเข้าสู่อวัยวะต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น หากรู้สึกว่าร่างกายขาดความกระฉับกระเฉง ลองขยับนิ้วเท้าทั้งสองข้างขึ้นลงพร้อมกัน 20-30 ครั้งจะรู้สึกกระปรี้กระเปร่าและสมองแจ่มใสขึ้น การจะมีสุขภาพดีอย่ามองข้ามอวัยวะเล็กๆ

วีดีโอสาธิตนวดแก้ปวดเข่า นวดเข่าบิด

arukouthailand ผลิตภัณฑ์ซัพพอร์ตเข่า คุณสามารถปรึกษาเกี่ยวกับเข่าของคุณกับผู้เชี่ยวชาญของเราได้ฟรี

Posted on Leave a comment

“สมุนไพรรักษาข้ออักเสบ” และอาหารที่ควรทาน

สมุนไพรรักษาข้ออักเสบ

ในปัจจุบันนี้คนส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับการออกกำลังกายกันมากขึ้น และหลายคนคงมีอาการปวดตามข้อเวลาออกกำลังกาย หรือเล่นกีฬาประเภทที่ต้องกระโดด หรือวิ่งมากๆ เป็นเวลานาน และอาจรู้สึกปวดตามข้อ หรือในเวลาที่อากาศเย็นขึ้น บุคคลประเภทนี้มีความเป็นไปได้สูงที่จัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่เป็นโรคข้ออักเสบ

โรคข้ออักเสบ เป็นชื่อเรียกโดยรวมของโรคกลุ่มนี้ซึ่งแยกออกมาได้กว่า 200 ชนิดที่พบบ่อยมีอยู่ 2 ชนิด คือ โรคข้อเสื่อม หรือข้ออักเสบเรื้อรัง และโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ หรือปวดข้อรูมาตอยด์ ทั้ง 2 ชนิด มีสาเหตุของโรคต่างกันคือ

โรคข้อเสื่อมนั้น เกิดจากความทรุดโทรมของกระดูกอ่อนที่หุ้มข้อกระดูกค่อยๆ หายไป ทำให้ข้อกระดูกเสียดสีกันเวลาเคลื่อนไหว จนเกิดอาการข้อยึด ส่งผลให้ปวดบริเวณข้อ โดยเฉพาะเวลาอากาศเย็น ส่วนโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ ยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด แต่สาเหตุที่พบบ่อยคือ เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายผิดปกติ เกิดการทำลายข้อต่อกระดูกของตนเอง และโรคนี่ยังสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกวัย โดยเฉพาะช่วยอายุระหว่าง 22-55 ปี และเพศหญิงมีแนวโน้ม ที่จะเป็นโรคนี่ได้มากกว่า เพศชายถึง 3 เท่า ทั้งยังเป็นโรคเรื้อรัง ที่มีอาการเป็นๆ หายๆ ไปตลอด แต่ในผู้ป่วยบ้างชนิดก็เป็นไปได้เช่นกัน

ส่วนผู้ที่มีแนวโน้มจะเป็นโรคข้ออักเสบนั้น ส่วนใหญ่แล้วเป็นคนที่มีน้ำหนักตัวมากกว่าเกณฑ์ปกติ หรือแม้แต่นักกีฬาที่มีร่างกายแข็งแรง ก็มีสิทธิ์เป็นได้นักกรีฑา นักวิ่ง นักกระโดดสูง ล้วนอยู่ในกลุ่มเสี่ยง เพราะจำเป็นต้องใช้ข้อต่อต่างๆ โดยเฉพาะที่หัวเข่า และข้อเท้ามากเป็นพิเศษ ในการวิ่งหรือกระโดด ทำให้เกิดแรงกดที่ข้อกระดูก เหมือนคนที่มีน้ำหนักมากเช่นกัน

โรคข้ออักเสบเป็นโรคที่พบบ่อย แต่มักจะรู้จักกันในชื่อของ“ข้อเสื่อม”

  1. โรคข้ออักเสบเป็นโรคที่มากับอายุ เกิดจากกระดูกอ่อนระหว่างข้อต่อเสื่อมสภาพลง ทำให้ข้อต่อเสียดสีกันจนเกิดอาการอักเสบและปวดข้อ พบได้บ่อยในผู้ชายที่อายุต่ำกว่า 45 ปี แต่ในผู้หญิงที่อายุ 45 ปี ขึ้นไปจะพบมากขึ้นเป็น 10 เท่า
  2. ข้ออักเสบอีกชนิดหนึ่งคือโรคข้ออักเสบรูมาทอยด์ จะเกิดขึ้นเมื่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายจำเซลล์ตัวเองไม่ได้ จึงเริ่มต่อต้านและจู่โจมเนื้อเยื่อตัวเองที่อยู่ส่วนปลายของกระดูก กระตุ้นให้เกิดการอักเสบเรื้อรัง และมีผลให้เกิดอาการปวดทั่วร่างกาย โดยเฉพาะตามข้อ
  3. นักวิจัยพบว่า ผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกินพิกัด 20 เปอร์เซ็นต์ขึ้นไป เพิ่มความเสี่ยงโรคข้ออักเสบมากกว่าผู้ที่มีน้ำหนักปกติถึง 3 เท่า ฉะนั้นผู้มีน้ำหนักเยอะจึงจำเป็นต้องลดน้ำหนักเพื่อลดภาวะข้อต่อในการรองรับน้ำหนัก
  4. เชื่อหรือไม่ว่า เพียงแค่ลดน้ำหนักลงเล็กน้อย เช่น ½ กิโลกรัม ก็จะบรรเทาอาการปวดลงได้มาก เพราะช่วยลดน้ำหนักที่ข้อต่อจะต้องรองรับได้ถึง 2 กิโลกรัม และยังช่วยลดปัญหาสุขภาพอื่นๆ ที่จะตามมากับน้ำหนักตัวได้
  5. การลดน้ำหนักอย่างน้อยเพียง 5 เปอร์เซ็นต์ร่วมกับการออกกำลังกายสม่ำเสมอเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการลดอาการปวด

อาหารและสมุนไพรต้านข้ออักเสบ

ส่วนใหญ่แล้วแนะนำให้บริโภคอาหารลักษณะเดียวกับผู้ควบคุมน้ำหนัก ซึ่งเน้นเป็นอาหารไขมันต่ำ และเน้นให้ทานผัก-ผลไม้เป็นหลัก เพราะคนอ้วนหรือคนที่ป่วยเป็นโรคข้ออักเสบ แพทย์แนะนำให้พยายามควบคุมน้ำหนัก ควบคู่กับการรักษาโรคด้วยยา โดยเน้นไปที่อาหารกลุ่มธัญพืชที่มีการขัดสีน้อย เช่น ข้าวกล้อง แป้งไม่ขัดขาว และผักใบเขียวต่างๆ ที่เป็นแหล่งเบต้า-แคโลทีน แคลเซียม โดเลต เหล็ก วิตามินซี ควรกินให้ได้ทุกวัน วันละนิดก็ได้ แต่ควรให้รับสม่ำเสมอ

นอกจากอาหารควบคุมน้ำหนักต่างๆ แล้ว ผู้ป่วยโรคนี้ ควรบริโภคปลาที่มีน้ำมันปลาด้วย เพราะมีหลักฐานว่า กรดไขมันโอเมก้า-3 ที่อยู่ในกฎไขมันไม่อิ่มตัวในปลา มีคุณสมบัติยับยั้งการอักเสบของข้อกระดูก จึงแนะนำให้บริโภคเฉลี่ย 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ หรืออาจกินในรูปของแคปซูลน้ำมัน ปลาแต่ต้องกินตามคำแนะนำบนฉลาก ไม่ควรกินเกินกว่าที่กำหนดไว้ นอกจากน้ำมันปลาแล้ว น้ำมันจากดอกอีฟนิ่งพริมโรส ก็มีคุณสมบัติช่วยลดการอักเสบได้เช่นกัน ก่อนกินควรปรึกษาแพทย์ก่อนว่า สามารถกินได้หรือไม่

  1. อาหารสามารถป้องกันข้ออักเสบและช่วยในการบำบัดข้อเสื่อมได้ ฉะนั้นสิ่งที่คุณเลือกตักใส่ปากจะมีผลต่อการลดหรือเพิ่มอาการเจ็บปวดของข้อด้วย นักวิจัยชาวเยอรมันพบว่า การอดอาหารช่วงสั้นๆ และตามด้วยการกินอาหารมังสวิรัติประมาณ 3 เดือนช่วยบรรเทาอาการอักเสบของข้อได้ รวมทั้งการหลีกเลี่ยงอาหารที่ก่อให้เกิดอาการแพ้ก็สามารถลดอาการจากโรคข้อเสื่อมได้เช่นกัน
  2. นักวิจัยชาวสวีเดนพบว่า ผู้ที่ทนทุกข์ทรมานกับโรคข้ออักเสบหลังจากที่เปลี่ยนมาบริโภคอาหารเมติเตอร์เรเนียน ซึ่งประกอบไปด้วย ผัก ถั่วต่างๆ ผลไม้ ธัญพืชไม่ขัดสี ปลา น้ำมันมะกอด และแอลกอฮอล์ (โดยเฉพาะไวน์) เพียงเล็กน้อยติดต่อกันเพียง 3 เดือน (หากไม่มีข้อห้ามจากปัญหาโรคร่วมอื่นหรือจากแพทย์ และจำกัดไขมันอิ่มตัวให้น้อยที่สุด) พบว่า สามารถลดการอักเสบและทำให้ข้อต่อทำงานได้ดีขึ้น
  3. การบริโภคผัก ผลไม้ และสมุนไพรเป็นประจำจะเป็นประโยชน์ในการป้องกันโรคมากมาย รวมทั้งข้ออักเสบ นักวิจัยจากอังกฤษพบว่า อาหารที่อุดมไปด้วยสารแคโรทีนอยด์ เบต้าคริปโทแซนทิน และ ซีแซนทิน ซึ่งมีสีแดง ส้ม เหลือง เขียว จากผักและผลไม้จะช่วยป้องกันโรคข้ออักเสบรูมาทอยด์ได้ดีกว่าอาหารที่มีสารพิกเมนต์หรือเม็ดสีน้อย นักวิจัยแนะว่า เพียงดื่มน้ำส้มวันละแก้วก็สามารถลดความเสี่ยงของข้ออักเสบรูมาทอยด์ได้
  4. ล่าสุดนักวิจัยพบว่าผลไม้ประเภทเชอร์รี่ บลูเบอร์รี่ และแบล็กเบอร์รี่มีสารฟลาโวนอยด์ซึ่งมีฤทธิ์เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยบำบัดอาการจากโรคข้ออักเสบได้ นอกจากนี้กระเทียม หอม แขนงผัก และกะหล่ำปลี ยังมีสารประกอบของกำมะถันซึ่งมีฤทธิ์เป็นยา ช่วยในการบำบัดอาการข้ออักเสบได้
  5. สมุนไพรบางชนิด เช่น ขิง มีฤทธิ์ลดอาการปวดและต้านการอักเสบ เชื่อกันว่าขิงสามารถช่วยลดอาการปวดข้อ ข้ออักเสบ และป้องกันกระเพาะอาหารจากผลข้างเคียงในคนที่ใช้ยาต้านการอักเสบประเภทเอ็นเสดส์ (NSAIDs) ได้ มีข้อมูลการวิจัยทางคลินิกที่แสดงให้เห็นว่าสารสกัดจากขิงช่วยลดอาการปวดจากโรคข้อเข่าได้

arukouthailand ผลิตภัณฑ์ซัพพอร์ตเข่า คุณสามารถปรึกษาเกี่ยวกับเข่าของคุณกับผู้เชี่ยวชาญของเราได้ฟรี

Posted on Leave a comment

“สมุนไพรแก้ปวดกระดูก” สรรพคุณล้มหลาม

สมุนไพรแก้ปวดกระดูก

สมุนไพรไทย” ช่วยได้ทุกโรค ไม่เว้นแม้แต่อาการปวดเมื่อยจากการนั่งรถหรือเดินทางยาวๆ ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ หรือการคุณตาคุณยายที่นั่งนอนอยู่กับบ้านเป็นเวลานานๆ และมักประสบกับการนั่งโอยลุกโอย “สมุนไพรฤทธิ์ร้อน” ช่วยคุณได้ เนื่องจากอิริยาบถดังกล่าวเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เลือดลมไหลเวียนได้ไม่ดี จึงเป็นสาเหตุของอาการปวดเมื่อย

สุดยอดสมุนไพร สรรพคุณล้นหลาม

โคกกระออม

สมุนไพรไทยแก้ ข้ออักเสบ บรรเทาปวด แก้ไข้ รูมาตอยด์ สรรพคุณทางยา ใบต้มดื่มแก้หืด ต้นหรือเถาแก้ไอ ดอกขับโลหิต ผลดับพิษไฟลวกน้ำคั้นรากสดห ยอดตาแก้ตาต้อ กากพอกแก้พิษแมลงพิษงู แพทย์จีนใช้ทั้งต้นต้มน้ำดื ่มขับน้ำนมทำให้เกิดน้ำนม ระบายท้อง แก้โรคไขข้ออักเสบ สารสกัดใบทดลองกับหนูขาวสาม ารถลดความดันโลหิตและยับยั้ งการอักเสบได้

ผักกาดน้ำ หรือหญ้าเอ็นยืด

รสและสรรพคุณในตำรายา ใบมีรสหวานเย็น มีฤทธิ์ในการห้ามเลือด ใช้ได้เฉพาะภายนอกเท่านั้น ใช้ใบขยี้ทาผิวลดการอักเสบข องผิวหนัง โขลกพอกแก้แผลเรื้อรังหรือผ ิวหนังอักเสบ ใช้ทาเมื่อถูกแมลงกัดต่อย ทั้งต้น รสหวานเย็น ขับปัสสาวะ แก้นิ่ว แก้ช้ำรั่ว แก้กามโรค แก้ระบบทางเดินปัสสาวะอักเส บ ดับพิษร้อน แก้ท้องร่วง ดับพิษฝี แก้ปัสสาวะแดงหรือเป็นเลือด  แก้ขอบตาเป็นเม็ดบวม ใช้ปรุงเป็นยาโดยผสมสมุนไพร อื่น ได้แก่ ว่านหอยแครง กล้วยหอมตีบ สนหมอก รากบัวหลวง ดอกเก๊กฮวย ฯลฯ นำไปต้มกับน้ำตาลกรวดดื่มเพ ื่อแก้ร้อนในกระหายน้ำ และเจ็บคอ

น้ำมันกานพลู 

น้ำมันกานพลูมีสรรพคุณทางยา  คือ น้ำมันกานพลู เป็นยาชาเฉพาะที่ แก้ปวดฟัน โดยใช้สำสีชุบนำมาอุดที่ฟัน  ระงับการกระตุก ตะคริว ขับผายลม แก้ปวดท้อง แก้ท้องอืด ผสมยากลั้วคอ ขับลม แก้ท้องขึ้น ท้องร่วง แก้ไอ ฆ่าเชื้อโรค แก้ชาปลายมือปลายเท้า บรรเทาอาการจากแมลงสัตว์กัด ต่อย แก้โรคลมระงับปวด ใช้ผสมกับ เมนทอล เมทิลซาลิไซเลต เป็นยานวดแก้ปวดบวมช้ำ

น้ำมันใบกระวาน

ราก – นำมาต้มดื่มจะช่วยในการฟอกเ ลือด ขับลม รักษาโรครำมะนาด และละลายเสมหะ
หัวและหน่อ – ใช้ในการขับพยาธิในเนื้อให้ ออกมา นอกจากนี้ยังสามารถรับประทา นคู่กับน้ำพริกได้อีกด้วย
เปลือก – แก้ไข้ แก้อาการผอมและตัวเหลือง รักษาโรคผิวหนังบางชนิด ขับเสมหะ บำรุงธาตุ 
แก่น – รักษาอาการโลหิตเป็นพิษ
ใบ – ขับลม แก้อาการจุกเสียดแน่นอนท้อง  ท้องเฟ้อ บำรุงธาตุ บำรุงร่างกาย และรักษาอาการโรครำมะนาด
กระพี้ – รักษาโรคผิวหนังบางชนิด และบำรุงโลหิต

กระเม็งตัวเมีย

หมอยาทุกภาคต่างรู้ดีว่ากะเม็งเป็นสมุนไพรทำแผล ช่วยห้ามเลือดและป้องกันการ ติดเชื้อ มีเรื่องเล่าจากประสบการณ์ว ่า สมัยสงครามเวียดนาม กะเม็งเป็นยาคู่สนามรบมีการ นำมาใช้ทั้งสดและแห้งเพื่อห ้ามเลือด นอกจากนำมาใช้รักษาแผลให้คน แล้ว กะเม็งยังเป็นยารักษาแผลในส ุนัขตัวโปรดได้ด้วย

น้ำมันใบโหรพา

“ช่วยผ่อนคลายและลดอาการเครียด” น้ำมันหอมระเหยโหระพามีฤทธิ ์ตอบสนองต่อความตึงตัวของเส ้นประสาท มีผลช่วยบรรเทาอาการปวดหัวท ั่วไป ไปจนถึงอาการปวดหัวจากไมเกร น และความเครียดได้เป็นอย่างด ี พร้อมทั้งช่วยทำให้รู้สึกปล อดโปร่งและสดชื่น เมื่อผสมกับน้ำมันหอมระเหยช นิดอื่นจะช่วยเพิ่มประสิทธิ ภาพในการบำบัด เข้ากันได้ดีกับน้ำมันหอมระ เหยเบอกาม๊อต เจอราเนียม ลาเวนเดอร์ ออเรนจ์สวีท เปเปอร์มินต์ และโรสแมรี่

น้ำมันหอมระเหยเหง้าไพร

ตำรายาไทย: เหง้า ขับโลหิตร้ายทั้งหลายให้ตกเ สีย ขับระดูสตรี แก้ฟกช้ำ เคล็ดบวม ขับลมในลำไส้ ขับระดู ไล่แมลง แก้จุกเสียด รักษาโรคเหน็บชา แก้ปวดท้อง บิดเป็นมูกเลือด ช่วยสมานแผล สมานลำไส้ แก้ลำไส้อักเสบ แก้มุตกิดระดูขาว ขับลม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ แก้ปวดท้อง แก้ท้องผูก แก้อาเจียน แก้ปวดฟัน เป็นยารักษาหืด แก้เคล็ดขัดยอก ข้อเท้าแพลง แก้โรคผิวหนัง แก้ฝี ทาเคลือบแผลป้องกันการติดเชื้อ 

น้ำมันหอมระเหยคาจิพุด

แหล่งที่มาของน้ำมัน Cajeput คือ Melaleuca leucadendra ต้นไม้ชนิดนี้เรียกว่า Melaleuca cajeputi และ Cajeput oil tree ไม้นี้มีไม้สีขาวหนา พบในออสเตรเลียหมู่เกาะระหว ่างออสเตรเลียและมาเลเซียแล ะอินโดนีเซีย นอกจากนี้ยังสามารถนำมาใช้ใ นการผลิตน้ำมันมะกรูดชนิดอื ่นๆ เช่น Melaleuca minor น้ำมันถูกกลั่นจากใบและกิ่ง ของต้นนี้ อย่างไรก็ตามก่อนการกลั่นส่ วนผสมจะหมักเป็นเวลานาน เนื่องจากน้ำมันมีการกลั่นด ้วยไอน้ำจึงเป็นสารอินทรีย์ และคงไว้ซึ่งสารอาหารเดิม

น้ำมันระกำ

คือใช้เป็นยาระงับปวดชนิดใช ้เฉพาะที่สำหรับบรรเทาอาการ ปวดต่าง ๆ ที่ไม่รุนแรง เช่น ปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้อจากภาวะตึงหรื อเคล็ด ข้อต่ออักเสบ ช้ำ หรือปวดหลัง เป็นต้น โดยยานี้จะช่วยให้ผู้ป่วยรู ้สึกเย็นบริเวณผิวหนังในตอน แรก จากนั้นจะค่อย ๆ อุ่นขึ้น ซึ่งช่วยเบี่ยงเบนความสนใจจ ากการรู้สึกถึงอาการปวด นอกจากนี้ ยังอาจใช้รักษาโรคอื่น ๆ ตามดุลยพินิจของแพทย์ด้วย

arukouthailand ผลิตภัณฑ์ซัพพอร์ตเข่า คุณสามารถปรึกษาเกี่ยวกับเข่าของคุณกับผู้เชี่ยวชาญของเราได้ฟรี

Posted on Leave a comment

“ปวดเส้นเอ็นหลังหัวเข่า” อาการที่ควรรู้ และหายเองได้หรือไม่?

ปวดเส้นเอ็นหลังหัวเข่า

ปวดเส้นเอ็นหลังหัวเข่า” เป็นอาการ เส้นเอ็นหลังเข่าอักเสบ อาการที่พบได้บ่อยในกลุ่มคนรักสุขภาพ​ โดยเฉพาะคนที่เล่นกีฬาและออกกำลังกายเป็นประจำ ก็มักจะเกิดอาการเอ็นอักเสบกันบ่อย ๆ หรือในกลุ่มคนที่ใช้ข้อมือทำงานหนัก ๆ กลุ่มนี้ก็เสี่ยงกับอาการเส้นเอ็นอักเสบให้ทรมานร่างกายเช่นกัน ดังนั้นเพื่อให้เราเข้าใจกับอาการเส้นเอ็นอักเสบมากขึ้น เรามาทำความรู้จักโรคนี้กันค่ะ จะได้รู้วิธีป้องกันและรักษาเส้นเอ็นอักเสบได้อย่างตรงจุด

ปวดเส้นเอ็นหลังหัวเข่า เกิดจากอะไร

เส้นเอ็นอักเสบ ภาษาอังกฤษเรียกว่า Tendinitis เส้นเอ็นอักเสบคืออาการอักเสบที่เกิดขึ้นในส่วนของเอ็นและปลอกหุ้มเอ็น มักจะพบผิวเอ็นขรุขระ เยื่อหุ้มเอ็นอักเสบและหนาตัว ทำให้แรงเสียดทานมีมากขึ้น ส่งผลให้ผู้ป่วยเจ็บปวดบริเวณที่เอ็นเสียดสีกับกระดูกหรือปลอกหุ้มเอ็น รวมไปถึงบริเวณที่เอ็นเกาะกระดูก ทั้งนี้ผู้ป่วยจะมีอาการบาดเจ็บ บวม แดง ร้อน อาจมีก้อนนูน ๆ ตามเส้นเอ็น รู้สึกปวดตื้อ ๆ เมื่อมีการเคลื่อนไหวของข้อต่อนั้น ๆ มีการเคลื่อนไหวร่างกายสะดุด และอาจพบอาการข้อติดได้ในบางราย

เส้นเอ็นหลังหัวเข่า หรือเอ็นไขว้หลังข้อเข่าบาดเจ็บ ฟื้นตัวเองได้แต่ต้องใช้เวลา

ภาวะเอ็นอักเสบที่เกิดจากการใช้งานร่างกายมากเกินไป มักจะรักษาด้วยการพัก คือหยุดพักการใช้งานบริเวณที่เจ็บปวดนั้น ๆ เพื่อป้องกันการอักเสบมากขึ้น รวมทั้งอาจจะบรรเทาอาการปวดด้วยการประคบด้วยผ้าชุบน้ำอุ่น หรือใช้ยาทาบรรเทาอาการปวด บวม อักเสบ ร่วมด้วย และหากมีอาการปวดมาก แนะนำให้ใช้ผ้าพันแผลชนิดยึดพันให้พอแน่น หรือวางสำลีกดลงตรงที่ปวดแล้วพันแผลเพื่อล็อกไม่ให้กล้ามเนื้อและเส้นเอ็นบริเวณนั้น ๆ เคลื่อนไหวเยอะก็ได้ 

อย่างไรก็ตาม หากอาการไม่ดีขึ้นภายใน 2 สัปดาห์ควรพบแพทย์ เพราะอาการเส้นเอ็นอักเสบเรื้อรังอาจพบหินปูนหรือแคลเซียมเกาะที่เส้นเอ็นได้ เคสแบบนี้จำเป็นต้องเข้ารับการเอกซเรย์และวิธีรักษาอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น กายภาพบำบัด ฉีดยาสเตียรอยด์ แต่หากเป็นกรณีเส้นเอ็นฉีกขาดแล้ว แพทย์จะต้องใช้วิธีผ่าตัดเพื่อซ่อมแซมเส้นเอ็น

เส้นเอ็นหลังเข่าอักเสบ

ความแข็งแรงของข้อเข่า หลัก ๆ จะมาจากเส้นเอ็นไขว้หน้าและหลัง เส้นเอ็นข้างเข่าทั้งด้านในและด้านนอก และกล้ามเนื้อรอบเข่า การบาดเจ็บของเส้นเอ็นไขว้หลังอย่างเดียวนั้นค่อนข้างพบได้น้อยเมื่อเทียบกับโครงสร้างอื่น ๆ 

ในรายที่บาดเจ็บจากการเล่นกีฬา แนวทางการรักษาแบบไม่ผ่าตัดจะพิจารณาทำในรายที่ข้อเข่าไม่หลวมซึ่งต้องได้รับการตรวจโดยแพทย์ หากเลือกในแนวทางนี้ วิธีการดูแลมีดังนี้ครับ

  1. การบาดเจ็บในช่วงแรกควรที่จะต้องพักการใช้งานของขาข้างนั้น อาจจะใช้ผ้ายืดพันรอบเข่าเพื่อลดอาการบวม ร่วมกับการยกขาสูงและใช้น้ำแข็งประคบใน 24 ชั่วโมงแรก และอาจจะทานยาลดอาการปวด อาการอักเสบ
  2. ในช่วงหนึ่งถึงสองสัปดาห์แรก อาจจะต้องใช้เหล็กประคองข้อเข่า (Hinge knee brace) เพื่อไม่ให้มีการขยับมากร่วมกับการใช้ไม้ค้ำยันช่วยเดินเพื่อลดแรงที่มากระทำต่อข้อเข่า
  3. พอพ้นช่วงที่มีอาการปวดมากมาสักระยะหนึ่งประกอบเส้นเอ็นเริ่มที่จะติดแล้วใช้เวลาประมาณ 1 เดือน ก็เป็นช่วงเวลาที่จะเริ่มทำกายภาพบำบัดกล้ามเนื้อรอบเข่าให้แข็งแรงเพื่อช่วยพยุงและรับแรงต่าง ๆ โดยให้เน้นที่กล้ามเนื้อต้นขาด้านหน้า (Quadriceps muscle) โดยอาจจะเริ่มจากการเกร็งกล้ามเนื้อโดยยังไม่ต้องยกขาลอย แล้วค่อยเพิ่มมาเป็นการยกขาให้เข่าเหยียดตรงค้างไว้ แล้วอาจจะลองเพิ่มนำ้หนักไว้ที่ปลายเท้าต่อไป โดยรวมแล้วระยะเวลาในการกายภาพบำบัดจะประมาณอีก 2 เดือน

เส้นเอ็นอักเสบ ป้องกันได้ไหม

ในกรณีที่ไม่ได้มีอาการเส้นเอ็นอักเสบจากโรคข้อหรือโรคประจำตัวใด ๆ แต่เกิดจากการใช้งานร่างกายหนักเกินไป เราก็สามารถป้องกันอาการเอ็นอักเสบได้ด้วยการหลีกเลี่ยงการใช้งานกล้ามเนื้อ-ข้อต่อที่ไม่ถูกต้อง เช่น ออกกำลังกายไม่ถูกวิธี โดยเฉพาะการออกกำลังกายในขณะที่ร่างกายไม่พร้อม คือร่างกายยังแข็งแกร่งไม่พอ กล้ามเนื้อและข้อต่อยังไม่พร้อมกับการออกกำลังกายหนัก ๆ หรือการไม่ยืดกล้ามเนื้อก่อนออกกำลังกาย ซึ่งอาจส่งผลให้ร่างกายรับไม่ไหว กระทั่งเกิดอาการเส้นเอ็นอักเสบขึ้นมา

arukouthailand ผลิตภัณฑ์ซัพพอร์ตเข่า คุณสามารถปรึกษาเกี่ยวกับเข่าของคุณกับผู้เชี่ยวชาญของเราได้ฟรี

Posted on Leave a comment

“กลูโคซามีน” สิ่งที่ควรทราบเกี่ยวกับผู้ป่วยโรคเข่าเสื่อม

กลูโคซามีน

ปัจจุบันคนไทยเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมมากกว่า 6 ล้านคนและมีแนวโน้มที่จะเป็นข้อเข่าเสื่อมเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆเนื่องจากคนไทยมีอายุยืนมากขึ้น โรคข้อเข่าเสื่อมก่อให้เกิดความเจ็บปวด ขาโก่ง เข่าผิดรูป ทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยแย่ลง ไม่สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างปกติ มีปัญหาในการเคลื่อนไหวร่างกาย ทำให้ผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมไม่สามารถเดินทางไปเที่ยวในที่ต่างๆได้  อาการปวดข้อในผู้ป่วยกลุ่มนี้มักจะมีอาการปวดตอนเดิน หรือยืนนานๆอาการปวดจะค่อยเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ แต่ในขณะที่นั่งอยู่เฉยๆมักจะไม่มีอาการปวด เมื่ออาการเป็นมากขึ้นเข่าจะเริ่มมีอาการผิดรูป เข่าโก่ง หรือเข่าฉิ่งร่วมด้วย โรคข้อเข่าเสื่อมเกิดเนื่องจากมีการเสื่อมของกระดูกอ่อนผิวข้อตามอายุที่เพิ่มมากขึ้น ร่วมกับน้ำหนักของร่างกายที่มากจึงทำให้เกิดการเสื่อมของข้อเข่าได้มากขึ้น

กลูโคซามีนคืออะไร

กลูโคซามีน (glucosamine) เป็นสารประกอบประเภทน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว ที่ปกติถูกสร้าง และพบในร่างกายของทุกคนอยู่แล้ว กลูโคซามีนจะถูกนำไปใช้เป็นสารตั้งต้นในการสร้างสารขนาดโมเลกุลใหญ่ เช่น โปรตีโอไกลแคน, ไกลโคโปรตีน, ไกลโคสามิโนไกลแคน, กรดไฮยาลูโรนิก สารเหล่านี้เป็นส่วนประกอบในเนื้อเยื่อเกือบทุกชนิดของร่างกาย โดยจะพบได้มากที่กระดูกอ่อน ซึ่งจะอยู่ที่บริเวณส่วนปลายของกระดูกโดยเฉพาะที่ข้อต่อ กระดูกอ่อนนั้นประกอบด้วยเมทริกซ์ของเส้นใยคอลลาเจนที่มีโปรตีโอไกลแคนอยู่ภายใน โดยโปรตีโอไกลแคนเป็นสารโมเลกุลใหญ่ที่มีความสามารถในการดึงน้ำเข้ามาหาตัวเองได้ดี จึงทำให้กระดูกอ่อนมีความยืดหยุ่น และสามารถรองรับการเคลื่อนไหวของกระดูกข้อต่อได้ ซึ่งจัดเป็นบทบาทสำคัญของกลูโคซามีนในเรื่องการทำงานของข้อ นอกจากนี้กลูโคซามีนยังมีผลยับยั้งการทำงานของสารอักเสบได้หลายชนิด จึงมีผลลดการอักเสบของข้อด้วย

โดยกลูโคซามีนที่มีจำหน่ายแบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ตามการขึ้นทะเบียน คือ (1) ยาอันตราย และ (2) ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ซึ่งทั้งสองแบบมีความแตกต่างกันในขั้นตอนการยื่นขอขึ้นทะเบียน รวมถึงเอกสารที่จำเป็นในการขอขึ้นทะเบียน กล่าวคือ กลูโคซามีนที่ขึ้นทะเบียนเป็นยาอันตราย มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ในการรักษาโรคข้อเสื่อม ซึ่งจะต้องมีเอกสารยืนยันถึงการศึกษาทางการแพทย์ที่แสดงประสิทธิภาพและความปลอดภัยของสารดังกล่าว และการใช้ยาจะอยู่ภายใต้การสั่งใช้จากแพทย์เท่านั้น ส่วนกลูโคซามีนที่ขึ้นทะเบียนเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ที่มีสุขภาพแข็งแรงใช้รับประทาน นอกเหนือจากการรับประทานอาหารหลักตามปกติ และในการขอขึ้นทะเบียนไม่จำเป็นต้องแสดงการศึกษาทางการแพทย์ประกอบ สำหรับในประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กระทรวงสาธารณสุขได้อนุญาตให้มีกลูโคซามีนชนิดที่เป็นยาอันตรายเท่านั้นที่ได้รับการขึ้นทะเบียน และจำหน่ายในประเทศได้

กลูโคซามีนใช้กับผู้ป่วยโรคเข้าเสื่อม

กลูโคซามีนใช้ในผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อม ข้อเข่าเสื่อมในที่นี้ไม่ได้หมายความถึงผู้ป่วยที่มีอาการปวดเข่าแต่เพียงอย่างเดียว อาการปวดข้อเข่าพบในผู้ป่วยในหลายอายุ ในวัยหนุ่มสาวหากนั่งทำงานโดยไม่ค่อยบริหารและออกกำลังข้อเข่า อาจมีภาวะกระดูกอ่อนสะบ้าอักเสบ ที่เรียกว่า Chondromalacia Patellae

ภาวะนี้มีอาการปวดเข่าเมื่อเดินขึ้นลงบันได ไม่มีข้อบ่งชี้ในการใช้ยากลูโคซามีน ในวัยหนุ่มออกกำลังกาย อาจมีการบาดเจ็บของกระดูกอ่อนหมอนรองข้อเข่า ที่เรียกว่า Meniscal Tear มีอาการเจ็บในข้อเข่า ไม่มีข้อบ่งชี้ในการใช้ยากลูโคซามีน ผู้ป่วยวัยสาวมีอาการเจ็บข้อเข่าด้านใน เกิดจากการเสียดสีของพังผืดในข้อเข่า เรียกว่า Medial Plica ไม่มีข้อบ่งชี้ในการใช้ยากลูโคซามีน ยากลูโคซามีนควรใช้ในฐานะยากับผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมเท่านั้น แต่ในฐานะอาหารเสริม คงต้องศึกษาผลดีผลเสียก่อนใช้

กลูโคซามีนคืออะไร

กลูโคซามีนใช้ได้ดีแค่ไหนกับผู้ป่วยเข่าเสื่อม

ด้านประสิทธิภาพของกลูโคซามีนต่อโรคข้อเสื่อม พบว่าการศึกษาทางการแพทย์ขนาดใหญ่ส่วนมากเป็นการศึกษาโดยใช้กลูโคซามีนซัลเฟต (glucosamine sulfate) ที่ขึ้นทะเบียนเป็นยาอันตราย ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าการให้ผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมได้รับกลูโคซามีนซัลเฟตในขนาด 1,500 มิลลิกรัมต่อวัน เป็นเวลานาน 3 ปี ช่วยลดอาการปวด และช่วยลดการแคบของข้อได้เมื่อเปรียบเทียบกับการไม่ใช้ยา (หรือใช้ยาหลอก) แต่การใช้กลูโคซามีนซัลเฟตในระยะสั้น เช่น 3-6 เดือน พบว่าผลการศึกษามีทั้งสองแบบ คือ ให้ผลดีในการรักษา และไม่เห็นความแตกต่างในการรักษาเมื่อเปรียบเทียบกับการไม่ใช้ยา นอกจากนี้การศึกษาในผู้ป่วยข้อสะโพกเสื่อมก็ไม่แสดงประโยชน์เหนือกว่าการไม่ใช้ยาเช่นกัน สำหรับกลูโคซามีนในรูปแบบอื่นนั้น พบว่ามีการศึกษาทางการแพทย์บ้าง แต่เป็นเพียงการศึกษาขนาดเล็ก จำนวนผู้ป่วยที่ใช้ศึกษาน้อย เช่น การใช้กลูโคซามีนไฮโดรคลอไรด์ ซึ่งขึ้นทะเบียนเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารในผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม พบว่ากลูโคซามีนไฮโดรคลอไรด์ให้ประสิทธิภาพในการระงับปวดในผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมได้ไม่แตกต่างจากกลูโคซามีนซัลเฟต

ข้อควรระวังการใช้กลูโคซามีน

จากข้อมูลการศึกษาทางการแพทย์ของกลูโคซามีนดังกล่าวข้างต้น แสดงให้เห็นว่าประสิทธิภาพของกลูโคซามีนในโรคข้อเสื่อมนั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น รูปแบบเกลือของกลูโคซามีน ตำแหน่งข้อที่เกิดการเสื่อม ขนาดยาที่ใช้ ระยะเวลาในการใช้ ซึ่งผู้บริโภค/ผู้ป่วยที่มีความประสงค์จะรับประทานกลูโคซามีน โดยเฉพาะในรูปแบบของผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่สามารถหาซื้อได้เองจากร้านขายยาทั่วไป ควรศึกษาข้อมูลของผลิตภัณฑ์ดังกล่าวให้เข้าใจ หรือปรึกษาแพทย์/เภสัชกรเพื่อให้เกิดความเข้าใจถึงประโยชน์ที่จะได้รับให้มากยิ่งขึ้น เพราะนอกจากประโยชน์ที่ได้รับจากการใช้กลูโคซามีนแล้ว กลูโคซามีนในทุกรูปแบบยังมีข้อควรระวังและทำให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์ได้ด้วย ดังนี้

  1. อาการไม่พึงประสงค์ที่พบได้บ่อยจากการรับประทานกลูโคซามีน คือ คลื่นไส้ ท้องเสีย แสบท้อง ปวดท้อง ท้องอืด นอกจากนี้ยังอาจพบอาการง่วงซึม ผื่นแพ้ผิวหนัง แพ้แสง ปากคอบวม (angioedema) หรือกระตุ้นให้เกิดการจับหืดได้
  2. ควรระมัดระวังการแพ้ในผู้ป่วยที่มีประวัติแพ้อาหารทะเล โดยเฉพาะกุ้ง ปู เพราะกลูโคซามีนที่มีจำหน่ายสังเคราะห์มาจากเปลือกของสัตว์ดังกล่าว
  3. ควรระมัดระวังการใช้ในผู้ป่วยโรคเบาหวาน โดยเฉพาะถ้าไม่สามารถคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ตามเป้าหมายการรักษา เพราะมีรายงานในสัตว์ทดลองว่ากลูโคซามีนทำให้การหลั่งอินซูลินลดลงได้ ถึงแม้ว่าจะยังไม่พบรายงานดังกล่าวในคนก็ตาม

arukouthailand ผลิตภัณฑ์ซัพพอร์ตเข่า คุณสามารถปรึกษาเกี่ยวกับเข่าของคุณกับผู้เชี่ยวชาญของเราได้ฟรี

Posted on Leave a comment

สาเหตุ และ วิธีรักษาอาการเข่าบวม

สาเหตุ และ วิธีรักษาอาการเข่าบวม

หัวเข่าอาจจะบวมจากการบาดเจ็บของเอ็นกล้ามเนื้อ เอ็นยึด หรือหมอนรองกระดูกเข่า ปัญหาทางการแพทย์อื่นๆ เช่น โรคข้ออักเสบ อาจจะเป็นสาเหตุของการบวมในข้อเข่า แม้แต่การใช้งานมากเกินไปก็สามารถทำให้หัวเข่าของคุณบวมได้ อาการบวมนั้นอาจจะอยู่ในข้อเข่าหรือในเนื้อเยื่อโดยรอบ คนเรียกอาการหลังว่า “น้ำในข้อเข่า” หลังจากคุณวินิจฉัยอาการหัวเข่าบวมแล้ว คุณอาจจะลองการรักษาที่ทำเองได้ที่บ้าน ถ้าหัวเข่าของคุณยังบวมหรือเจ็บ คุณควรจะไปพบผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์เพื่อขอคำแนะนำและการรักษา

วิธีการดูอาการเข่าบ่วมเบื้องต้น

  1. เปรียบเทียบหัวเข่าข้างที่มีอาการกับหัวเข่าอีกข้างหนึ่งของคุณ มองหาอาการบวมรอบๆ กระดูกสะบ้าหัวเข่าหรือรอบๆ ด้านข้างหัวเข่า การเปรียบเทียบหัวเข่าทั้งสองข้างนี้เป็นวิธีที่ดีที่จะเช็คเพื่อดูว่ามีอาการบวมหรือรอยแดงหรือไม่ และดูว่ามีอะไรผิดปกติหรือไม่ อาจจะมีอาการบวมที่ด้านหลังหัวเข่าของคุณอีกด้วย ซึ่งนี่อาจจะส่งสัญญาณของอาการก้อนปมหลังหัวเข่า ซึ่งเกิดเมื่อของเหลวส่วนเกินถูกดันเข้าไปในเนื้อเยื่อที่อยู่ด้านหลังหัวเข่าของคุณ สามารถก่อให้เกิดอาการบวมที่ด้านหลังหัวเข่าของคุณได้ ซึ่งอาจจะแย่ลงตอนที่คุณยืนขึ้นถ้าหัวเข่าข้างที่มีอาการนั้นเป็นสีแดงกว่าและเมื่อสัมผัสแล้วรู้สึกอุ่นกว่าหัวเข่าอีกข้างหนึ่งแล้วล่ะก็ ให้ไปพบแพทย์
  2. งอและยืดขาของคุณ ถ้าคุณรู้สึกไม่สบายตอนคุณขยับขาล่ะก็ คุณอาจจะมีอาการบาดเจ็บในระดับที่ต้องได้รับการรักษา ซึ่งความรู้สึกไม่สบายนี้อาจจะเป็นความเจ็บปวดหรือความฝืดตึง ความฝืดตึงนี้มักจะเนื่องมาจากของเหลวในหัวเข่าของคุณ
  3. ทดสอบการเดินทิ้งน้ำหนักบนขาของคุณ. ขาที่ได้รับบาดเจ็บอาจจะเจ็บเวลายืนบนขาข้างนั้น ให้ลองทิ้งน้ำหนักตัวลงบนขาของคุณและเดินเพื่อดูว่าขาของคุณสามารถรับมือกับการออกกำลังกายที่ต้องแบกรับน้ำหนักได้หรือไม่
  4. ไปพบแพทย์ แม้ว่าคุณอาจจะสามารถวินิจฉัยอาการบวมในหัวเข่าของคุณได้ แต่คุณก็อาจจะไม่รู้สาเหตุที่แน่นอนเบื้องหลังอาการบวมนั้น ทางที่ดีที่สุดให้ไปตรวจกับแพทย์ถ้าอาการบวมนั้นเป็นติดต่อกัน เจ็บ หรือไม่หายไปภายในสองสามวัน

การปฏิบัติตัวหากเกิดอาการเข่าบวม

  1. หลีกเลี่ยงการงอเข่าและการนั่งยองๆ ควรหลีกเลี่ยงการเคลื่อนไหวซ้ำๆ ที่ใช้หัวเข่าของคุณ ถ้าคุณอยากป้องกันไม่ให้หัวเข่าบวม
  2. งดการออกกำลังกายและกีฬาที่มีแรงกระแทกสูง กีฬาหลายประเภทโดยเฉพาะอย่างยิ่งประเภทที่ต้องการการกระโดดและการวิ่งมากๆ จะสามารถเป็นอันตรายต่อหัวเข่าของคุณได้ ให้หลีกเลี่ยงการเล่นสกี สโนว์บอร์ด วิ่ง และบาสเกตบอล จนกว่าหัวเข่าของคุณจะหายสนิทแล้ว
  3. กินอาหารที่มีคุณสมบัติต้านการอักเสบ อาหารของคุณอาจจะเป็นสาเหตุของความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของอาการบวมในหัวเข่าของคุณหรือที่อื่นๆ ในร่างกายของคุณ พยายามอยู่ให้ห่างจากอาหารแปรรูป ทอด หรือมีน้ำตาล และกินผลไม้ ผัก โปรตีน และธัญพืชให้มากขึ้นกรดไขมันโอเมก้า-3 มีคุณสมบัติต้านการอักเสบสูง กินปลาแซลมอนและปลาทูน่าให้มากขึ้นเพื่อเพิ่มกรดไขมันโอเมก้า-3 ให้คุณเอง ลองกินอาหารเมดิเตอร์เรเนียน อาหารประเภทนี้อุดมไปด้วยโปรตีนที่มีไขมันต่ำ เช่น ปลาและไก่ และยังมีผัก น้ำมันมะกอก และถั่วเป็นจำนวนมากอีกด้วย
  4. หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่. การสูบบุหรี่จะลดการไหลเวียนของออกซิเจนและเลือดในร่างกายของคุณ ซึ่งนี่จะจำกัดความสามารถของเนื้อเยื่อในการซ่อมแซมตัวเองตามลำดับ
  5. สวมตัวซัพพอร์ตเข่าหัวเข่า ถ้าคุณใช้เวลาส่วนมากนั่งบนหัวเข่าของคุณ เช่น การจัดสวนหรือทำงานบ้าน ให้สวมที่รองหัวเข่าถ้าเป็นไปได้ให้ “พักย่อยๆ ” เป็นเวลา 10-20 วินาทีบ่อยๆ ในช่วงเวลาพักเหล่านี้ ให้ยืนขึ้นและยืดขาของคุณ ปล่อยให้ขาของคุณกลับไปอยู่ในตำแหน่งสบายๆ

arukouthailand ผลิตภัณฑ์ซัพพอร์ตเข่า คุณสามารถปรึกษาเกี่ยวกับเข่าของคุณกับผู้เชี่ยวชาญของเราได้ฟรี

Posted on Leave a comment

“โยคะแก้ปวดเข่า” ท่าที่ทำง่ายๆ และได้ผลดีสุดๆ

โยคะแก้ปวดเข่า

โยคะมีประโยชน์ต่อสุขภาพในหลายๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นช่วยลดน้ำหนัก กระชับสัดส่วน แถมยังช่วยให้ร่างกายฟิตแอนด์เฟิร์มขึ้น แต่นอกจากนี้ รู้ไหมว่าการเล่นโยคะยังช่วยให้ร่างกายยืดหยุ่น ลดอาการออฟฟิศซินโดรม และช่วยลดอาการปวดต่างๆ อีกด้วย โดยวันนี้เราจะมาเน้นที่ “โยคะแก้ปวดเข่า” รู้แบบนี้แล้วประโยชน์ทั้งนั้น

หากคุณมีพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ไม่ค่อยเคลื่อนไหว เช่น นั่งทำงานเป็นระยะเวลานาน คุณก็มีโอกาสที่จะเกิดอาการปวดหลังส่วนล่างได้ในบางช่วงของชีวิต พูดกันตามสถิติแล้ว อาการปวดหลังส่วนล่างเป็นปัญหาสุขภาพที่เกิดขึ้นทั่วไป และทำให้ผู้ป่วยเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล โชคดีที่โยคะสามารถช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวดได้ และนี่คือ ท่าโยคะแก้ปวดเข่า แบบง่ายๆ ที่ใครๆ ก็ทำได้

ท่ายืนก้มตัว

ท่ายืนก้มตัว เป็นอีกหนึ่งท่าที่มีประโยชน์ต่อกล้ามเนื้อแฮมสตริง เริ่มท่านี้ด้วยการทำท่าสุนัขก้ม และใช้มือดันตัวถอยหลังไปสู่ท่ายืน โดยให้เท้าห่างเท่ากับระยะสะโพก ย่อเข่าเล็กน้อยและพับลำตัวลงมาข้างหน้า ให้หน้าท้องแนบกับขา ถ้าสามารถทำได้ ปล่อยแขนลงหรือกอดอกไว้ ทำท่านี้ค้างไว้ 15 ลมหายใจ และเปลี่ยนท่า

ท่าบิดเอว

ท่าบิดเอว ช่วยในเรื่องความยืดหยุ่นของกระดูกสันหลัง เริ่มด้วยท่านอนราบ แล้วดึงเข่าทั้งสองข้างเข้าหาหน้าอก กอดเข่าไว้ แลวบิดหัวเข่าทั้งสองข้างไปทางด้านขวา ให้ขาขวาติดพื้นในขณะที่ขาซ้ายวางอยู่บนขาขวา ให้ไหล่แนบชิดติดพื้น และเหยียดแขนกางออก หันหน้าไปทางซ้าย ทำท่าค้างไว้ 5 ลมหายใจ และเปลี่ยนข้าง หากคุณต้องการ คุณสามารถจบการฝึกด้วยท่าศพ หรือท่าเด็ก เพื่อเพิ่มความแข็งแรงและความยืดหยุ่นให้กับกระดูกสันหลัง

ท่ายืนแยกขายืดลำตัว      

พราะนอกจากจะช่วยยืดหยุ่นกล้ามเนื้อต้นขาด้านหลัง และกล้ามเนื้อหลัง ช่วยลดอาการปวดหลัง ปวดเข่าแล้ว ยังช่วยทำให้จิตใจสงบ และเลือดไหลเวียนได้สะดวก ส่งผลทำให้ผิวพรรณเปล่งปลั่งหากทำเป็นประจำ ยืนแยกขาออกจากกันประมาณ 1 เมตร ยกมือขึ้นเท้าเอวและแอ่นตัวไปด้านหลัง ก้มตัวลงต่ำ ให้ลำตัวส่วนบนขนานกับพื้นแล้ววางมือบนพื้นระหว่างขาทั้ง 2 ข้าง โดยที่เข่าต้องตึงเสมอ เงยหน้าขึ้นมองเพดาน จากนั้นค่อยๆ กางขาออกเพิ่มขึ้นและงอศอก วางศีรษะลงบนพื้นระหว่างเท้าทั้ง 2 ข้าง ทิ้งน้ำหนักลงที่เท้า ให้มือ เท้า และศีรษะอยู่ในแนวระนาบเดียวกัน

ท่านกพิราบ

หากอาการเจ็บหลังเกิดจากการตึงบริเวณสะโพก ท่านกพิราบ เป็นท่าที่สามารถช่วยได้ดี เนื่องจากเป็นท่าที่เน้นกล้ามเนื้อสะโพก ทั้งกล้ามเนื้อเฟล็กเซอร์ กล้ามเนื้ออิลิออปโซแอส และข้อต่อสะโพก ในการทำท่านี้ เริ่มต้นด้วยการทำท่าสุนัขก้ม จากนั้น ก้าวเท้าขวาเข้ามาหามือขวา โดยที่ขาซ้ายยังอยู่ในท่าเดิม แล้วกดตัวลงพร้อมกับพับขาขวาลงแนบกับพื้น ให้เข่าขวาชี้เข้าหาข้อมือขวา ดูให้ลำตัวเป็นเส้นตรง เข่าไม่ล้ำออกไปนอกแนวสะโพก วางมือทั้งสองข้างกับพื้นเพื่อช่วยรับน้ำหนัก หากคุณต้องการยืดเหยียดมากขึ้น ให้ยืดแขนไปด้านหน้าและก้มตัวไปติดพื้น ทำท่านี้ค้างไว้ 15 ลมหายใจ และกลับสู่ท่าสุนัขก้มเพื่อเปลี่ยนข้าง

ท่ากอดเข่า

โยคะท่ากอดเข่า

ท่านี้ช่วยในคลายเส้นเข่า และหลัง เป็นวิธีทำก็ง่ายๆ นอนและงอเข่าเสมอหน้าอกและกอดไว้ ทำง่ายและได้ผลดีมากทีเดียว

ท่านั่งก้มตัว

ท่านี้ช่วยลดความเครียด ลดอาการซึมเศร้า ช่วยยืดกล้ามเนื้อหลัง ไหล่ และกล้ามเนื้อต้นขาไปในคราวเดียวกันนั่งหลังตรง กางขาเป็นวงแหวน ให้ฝ่าเท้าหันเข้าหากันก้มตัวไปด้านหน้า ให้ศีรษะก้มลงติดพื้นมากที่สุด แขนเหยียดตรงไปด้านหน้าค้างท่าไว้ 10 วินาที ทำซ้ำ 5-10 ครั้ง

ท่าแมวและวัว

ท่าแมวและวัว เป็นท่าโยคะพื้นฐาน ที่เหมาะกับผู้ที่มีเวลาไม่มาก ท่านี้ช่วยยืดกระดูกสันหลังทั้งสองด้าน และเตรียมคุณในการทำท่าต่อไป วิธีการคือ เริ่มในท่าคลานสี่ขา ให้หลังตรงขนานกับพื้น ไหล่อยู่ตรงกับข้อมือ สะโพกตรงกับเข่า และกางนิ้วมือทุกนิ้วออก หายใจเข้า และเงยหน้าขึ้นและแอ่นตัวให้หน้าท้องชี้ลงไปหาพื้น ท่านี้เรียกว่าท่าวัว จากนั้น หายใจออก และดึงหน้าท้องขึ้น โก่งกระดูกสันหลังให้ชี้ขึ้นไปที่เพดาน และเก็บคางชิดอก ท่านี้เรียกว่า ท่าแมว พยายามควบคุมลมหายใจให้สอดคล้องกัน ในขณะเปลี่ยนท่าจากท่าวัวไปสู่ท่าแมว หายใจเข้ามากขึ้นในขณะทำท่าวัว เพื่อยืดหลังส่วนล่าง หายใจเข้าลึก 5 ถึง 10 ครั้ง จากนั้นจึงเปลี่ยนท่า

arukouthailand ผลิตภัณฑ์ซัพพอร์ตเข่า คุณสามารถปรึกษาเกี่ยวกับเข่าของคุณกับผู้เชี่ยวชาญของเราได้ฟรี

Posted on Leave a comment

“ปวดเข่าในผู้สูงอายุ” เป็นเรื่องใกล้ตัวและควรใส่ใจ

ปวดเข่าในผู้สูงอายุ

ภาวะข้อเสื่อม เป็นภาวะที่ข้อต่อของร่างกายที่เป็นกระดูกอ่อนมีการเสื่อมสภาพลง พื้นที่ระหว่างข้อต่อแคบลง และเริ่มมีการเกาะของแคลเซียมในกระดูกบนผิวข้อมากชึ้น ทำให้สูญเสียความสามารถในการใช้งานไป โดยทั่วไปเราสามารถพบอาการข้อเสื่อมได้ในทุกข้อต่อแต่ที่พบบ่อยคือ บริเวณหลังส่วนล่าง บริเวณคอ และ บริเวณเข่า และบริเวณกระดูกสันหลังในผู้สูงอายุ การเกิดภาวะข้อเสื่อมส่งผลต่อการเคลื่อนไหว ทำให้เคลื่อนไหวได้ช้าลง ติดขัดและสามารถนำไปสู่สาเหตุของการอักเสบในข้อต่อ และความพิการได้

สาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะปวดเข่าในผู้สูงอายุ

นั้นมีหลายปัจจัย แต่ที่พบบ่อยคือ เกิดจากแรงกระทำบนข้อมากเกินไป (มีการศึกษาในมนุษย์ พบว่าการออกกำลังกายในรูปแบบที่มีแรงกระทำต่อข้อมาก ร่วมกับการขาดการพักอย่างเหมาะสม การยืดเหยียดก่อน–หลังออกกำลังกายที่ไม่พอเหมาะ และการฝึกในระยะกล้ามเนื้อที่ล้าอยู่แล้ว ทำให้เกิดการฟื้นตัวของเนื้อเยื่อข้อต่อได้ไม่ดี) อย่างไรก็ตามการเกิดภาวะข้อเสื่อมอาจเกิดขึ้นได้ในข้อต่อที่ไม่ได้ลงน้ำหนัก เช่น ข้อมือข้อไหล่ ได้เช่นกัน อันเนื่องมาจากสาเหตุอื่น เช่น ภาวะข้อหลวม การอักเสบบริเวณข้อต่อ การไหลเวียนออกซิเจนที่ไม่เพียงพอบริเวณข้อต่อ และความผิดปกติทางพันธุกรรมอื่น ๆ ที่ทำให้เกิดการสร้างโปรตีนคอลลาเจนที่ผิดปกติ ส่งผลให้กระดูกอ่อนมีความผิดปกติ เป็นต้น

อาการเริ่มแรกที่เตือนให้รู้ว่าเข่ากำลังมีปัญหา

  1. เจ็บปวด เป็นอาการที่พบบ่อยที่สุด อาจเป็นปวดแบบเมื่อยๆ พอทน ปวดแบบเป็นๆ หายๆ หรือในรายที่เข่าได้รับบาดเจ็บ จะปวดแบบเฉียบพลันและปวดรุนแรง
  2. เข่าบวม เข่าที่บวมทันทีภายหลังจากได้รับบาดเจ็บ มักเกิดจากมีเลือดออกภายในข้อเข่า บวมที่เกิดขึ้นช้าๆ มักเกิดจากมีความผิดปกติขององค์ประกอบภายในข้อเอง
  3. เข่าอ่อนหรือเข่าสะดุดติด อาจเกิดจากสาเหตุหลายประการ แต่ที่พบบ่อยคือ เกิดจากมีบางสิ่งบางอย่างภายในข้อ ทำให้งอ หรือเหยียดเข่าในทันทีทันใดไม่ได้ เช่น เส้นเอ็นหรือกระดูกอ่อนที่ฉีกขาด หรือเศษกระดูกที่หยุดอยู่ในข้อ
  4. เข่าฝืดหรือยึดติด อาจเป็นเฉพาะบางช่วงเวลาของวัน เช่น ตอนเช้าหลังตื่นนอน นั่งนานๆ แล้วลุกขึ้น หรือเกิดขึ้นภายหลังจากได้รับบาดเจ็บที่ข้อเข่า

เมื่อปรากฎอาการดังกล่าวแล้วแสดงว่า ท่านเริ่มมีปัญหาของข้อเข่า ควรให้ความสนใจอย่างจริงจัง และพิจารณาดูว่า มีอะไรเป็นสาเหตุดังกล่าว จะเป็นต้องเริ่มต้นฝึกออกำลังกล้ามเนื้อของข้อเข่าให้แข็งแรงขึ้น ซึ่งเป็นวิธีเดียวที่จะให้หลักประกันได้ว่า ท่านจะสามารถยืนและเดินอยู่บนขา และเข่าของตนเองได้ตลอดไป

สาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะปวดเข่าในผู้สูงอายุ

สาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะปวดเข่าในผู้สูงอายุ

นั้นมีหลายปัจจัย แต่ที่พบบ่อยคือ เกิดจากแรงกระทำบนข้อมากเกินไป (มีการศึกษาในมนุษย์ พบว่าการออกกำลังกายในรูปแบบที่มีแรงกระทำต่อข้อมาก ร่วมกับการขาดการพักอย่างเหมาะสม การยืดเหยียดก่อน–หลังออกกำลังกายที่ไม่พอเหมาะ และการฝึกในระยะกล้ามเนื้อที่ล้าอยู่แล้ว ทำให้เกิดการฟื้นตัวของเนื้อเยื่อข้อต่อได้ไม่ดี) อย่างไรก็ตามการเกิดภาวะข้อเสื่อมอาจเกิดขึ้นได้ในข้อต่อที่ไม่ได้ลงน้ำหนัก เช่น ข้อมือข้อไหล่ ได้เช่นกัน อันเนื่องมาจากสาเหตุอื่น เช่น ภาวะข้อหลวม การอักเสบบริเวณข้อต่อ การไหลเวียนออกซิเจนที่ไม่เพียงพอบริเวณข้อต่อ และความผิดปกติทางพันธุกรรมอื่น ๆ ที่ทำให้เกิดการสร้างโปรตีนคอลลาเจนที่ผิดปกติ ส่งผลให้กระดูกอ่อนมีความผิดปกติ เป็นต้น

ผลกระทบของภาวะปวดเข่าในผู้สูงอายุ

ที่สำคัญที่สุดคือจะเกิดอาการปวดบริเวณข้อต่อโดยอาการปวดจะค่อย ๆ เริ่มจาก น้อยไปมาก และปวดมากขึ้นเมื่อน้ำหนักมากขึ้นและเมื่อยกข้างที่มีปัญหา แต่อาการจะทุเลาลงเมื่อหยุดพัก เมื่อภาวะโรคดำเนินไปมากขึ้น ผู้สูงอายุอาจะปวดได้ทั้งเวลาพักและทำงาน โดยอาการจะยิ่งมากขึ้นถ้าอากาศหนาว อาการปวดสามารถพัฒนาเชื่อมโยงไปยังบริเวณอื่น ๆ ได้ เช่น ถ้าเป็นข้อเข่าเสื่อม อาจจะพบจุดกดเจ็บบริเวณกล้ามเนื้อต้นขาด้านหน้า ซึ่งอาจแสดงว่ากล้ามเนื้อต้องทำงานมากขึ้นเพื่อพยุงตัวผู้สูงอายุเอง

วิธีป้องกันและการปฏิบัติ

  1. ควบคุมไม่ให้อ้วนเกินไป โดยการควบคุมอาหารและออกกำลังกาย
  2. บริหารกล้ามเนื้อรอบๆ ข้อนั้นให้แข็งแรง (วิธีการบริหารดูในการออกกำลังกาย)
  3. ลดการใช้งานข้อนั้นในท่าที่ผิดจากธรรมชาติ เช่น การนั่งยองๆ การนั่งพับเพียบ คุกเข่าและการนั่งขัดสมาธินานเกินไป เป็นต้น
  4. ขณะที่มีอาการปวด ควรรีบปรึกษาแพทย์ เพื่อให้การรักษาภาวะอักเสบของข้อ แล้วเริ่มทำกายภาพบำบัดเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้

arukouthailand ผลิตภัณฑ์ซัพพอร์ตเข่า คุณสามารถปรึกษาเกี่ยวกับเข่าของคุณกับผู้เชี่ยวชาญของเราได้ฟรี

Posted on Leave a comment

“ปวดข้อพับเข่าด้านหลัง” อาการปวดที่ต้องเจอของนักกีฬา

ปวดข้อพับเข่าด้านหลัง

แม้กีฬาจะเป็นกิจกรรมสนุกสนาน ช่วยเสริมสร้างร่างกายให้แข็งแรง แต่ควรเล่นด้วยความระมัดระวังอยู่เสมอ เพราะอุบัติเหตุอาจเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ โดยเฉพาะการเล่นกีฬาที่มีการเปลี่ยนทิศทางกระทันหัน เช่น ฟุตบอล บาสเก็ตบอล ฯลฯ เส้นเอ็นอาจรับน้ำหนักไม่ไหว เกิดการบิดหมุนและฉีกขาด ซึ่งการบาดเจ็บที่พบบ่อยครั้ง คือ “ปวดข้อพับเข่าด้านหลัง” ในข้อเข่ามีเส้นเอ็นหลายเส้น แต่ละเส้นทำหน้าที่แตกต่างกันออกไป เพื่อควบคุมการเคลื่อนไหวของข้อเข่าอย่างเหมาะสม โดย “เส้นเอ็นไขว้หน้าข้อเข่า” จะอยู่บริเวณจุดกึ่งกลางของข้อเข่า และยาวไปตามแนวเฉียงด้านหลังของกระดูกต้นขาไปจนถึงกระดูกหน้าแข้ง เส้นเอ็นดังกล่าวทำหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของกระดูกหน้าแข้ง ป้องกันไม่ให้ขาส่วนล่างเคลื่อนไปด้านหน้า และป้องกันไม่ให้ขาเกิดการบิดหมุน

เจ็บที่ข้อพับหลังหัวเข่าอาจเกิดจากการพับเข่านานๆ ทำให้เส้นเลือดหลังข้อพับอาจถูกกดทับ ทำให้เลือดไหลเวียนไม่สะดวก 

การดูแลตัวเองหากเกิดอาการปวดข้อพับเข่าด้านหลังสามารถทำได้ ดังนี้

  1. พยายามหลีกเลี่ยงการนั่งพับเข่านานๆ ถ้าจะให้ดีควรนั่งเก้าอี้ และงอเข่าเป็นมุมไม่มากกว่า 90 องศา 
  2. การเล่นโยคะ ช่วยยืดกล้ามเนื้อ เส้นเอ็นและข้อต่อ 
  3. การออกกำลังการเฉพาะท่าที่เหมาะสม คือ การยืดกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นหลังข้อเข่า และการบริหารกล้ามเนื้อรอบข้อเข่าให้แข็งแรง 
ปวดข้อพับต้นขา

การยืดกล้ามเนื้อและเอ็นหลังข้อเข่า ช่วยลดอาการปวดข้อพับเข่าด้านหลัง

โดยยืดกล้ามเนื้อและค้างไว้ 10-20 วินาที ทำท่าละ 3-5 ครั้ง ดังนี้ 

1. นอนหงาย ชันเข่าข้างขวาขึ้น ยกขาซ้ายโดยเข่าเหยียดตรง จะรู้สึกตึงบริเวณกล้ามเนื้อและเอ็นหลังข้อเข่า แล้วทำสลับข้าง 
2. นั่งกับพื้น ขาข้างขวาเหยียดตรง งอเข่าซ้าย โน้มตัวไปด้านหน้าจะรู้สึกตึงบริเวณกล้ามเนื้อและเอ็นหลังข้อเข่าแล้วทำสลับข้าง
3. การบริหารกล้ามเนื้อรอบเข่าให้แข็งแรง 
นอนหงายหรือนั่งเหยียดขา หมอนเล็กๆรองใต้เข่า ให้เข่างอเล็กน้อย เกร็งกล้ามเนื้อรอบเข่า ค้างไว้ 5 วินาที ทำซ้ำ 10 ครั้ง 
หากอาการไม่ดีขึ้นควรไปพบแพทย์ค่ะ

arukouthailand ผลิตภัณฑ์ซัพพอร์ตเข่า คุณสามารถปรึกษาเกี่ยวกับเข่าของคุณกับผู้เชี่ยวชาญของเราได้ฟรี

Posted on Leave a comment

“กระดูกเข่าเสื่อม” ภัยร้ายของผู้สูงอายุ

กระดูกเข่าเสื่อม

กระดูกเข่าเสื่อม คือ ภาวะที่กระดูกอ่อนผิวข้อเข่า มีการสึกหรอและเสื่อมอย่างช้าๆ และจะเป็นมากขึ้นตามเวลาที่ผ่านไป พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ ทำให้เกิดอาการปวดเข่า เข่าบวม ข้อยึดติด มีเสียงดังในเข่า เข่าผิดรูปไม่สามารถประกอบกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ

โรคกระดูกข้อเข่าเสื่อมนี้เกิดจากการเสื่อมตามอายุขัยส่วนใหญ่ เกิดกับข้อใหญ่ๆ เช่น ข้อสะโพก ข้อเข่าและข้อกระดูกสันหลัง ปัญหาปวดเข่าพบได้มากในผู้สูงอายุหญิงมากกว่าชาย เนื่องจากขนบธรรมเนียมไทยที่ต้องนั่งคุกเข่าพับเพียบ ขัดสมาธิ ซึ่งเป็นท่าที่ทำให้ข้อเข่าถูกกดพับ และเอ็นกล้ามเนื้อถูกยึดมาก การนั่งเช่นนั้นนานๆ ทำให้การหมุนเวียนของเลือดไปเลี้ยงเข่าไม่ได้ดี และเมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุไม่ค่อยชอบออกกำลังกาย อีกทั้งต้องทำงานหนักไม่มีการพัก ประกอบกับน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น ทำให้เข่าต้องแบกน้ำหนักส่วนเกินนั้น กล้ามเนื้อจึงหย่อนสมรรถภาพลง จึงทำให้เป็นโรคกระดูกเข่าเสื่อมได้ง่าย

สาเหตุหลักๆ ของกระดูกเข่าเสื่อมได้แก่

  1. เป็นผลจากความเสื่อม และการใช้เข่าที่ไม่ถูกต้องมานาน
  2. ความอ้วน น้ำหนักตัวมากๆ ทำให้เข่าต้องรับน้ำหนักเพิ่มขึ้น
  3. เคยได้รับอุบัติเหตุบริเวณเข่ามาก่อน เช่น กระดูกบริเวณเข่าหัก, ข้อเข่าเคลื่อนหลุด, เส้นเอ็นฉีกขาด หรือหมอนรองเข่าฉีกขาด
  4. โรคข้ออักเสบ เช่น โรคเก๊าท์ หรือโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ เป็นต้น

กระดูกเข่าเสื่อมมีปัจจัยเสี่ยงอะไรบ้าง   

  1. อายุ การเกิดข้อกระดูกเข่าเสื่อมจะพบมากตามอายุที่เพิ่มขึ้น       
  2. เพศ พบในเพศหญิงบ่อยกว่าเพศชาย     
  3. พันธุกรรม อาจมีคนในครอบครัวเป็นโรคกระดูกเข่าเสื่อมร่วมด้วย       
  4. ภาวะอ้วน น้ำหนักตัวที่มากขึ้น ทำให้ข้อเข่าต้องรับน้ำหนักและแรงกดทับมากขึ้น       
  5. การได้รับบาดเจ็บ เช่น การมีเอ็นไขว้หรือหมอนรองกระดูกเข่าฉีกขาด หรือมีกระดูกผิวข้อแตก

มีวิธีการรักษาอย่างไร และสามารถรักษาให้หายขาดได้หรือไม่

กระดูกเข่าเสื่อมสาเหตุ pantip


ปัจจุบันยังไม่สามารถรักษาโรคข้อกระดูกเข่าเสื่อมให้หายขาดได้ แต่สามารถควบคุมอาการได้ โดยจุดมุ่งหมายในการรักษา คือ ช่วยบรรเทาอาการปวด ช่วยให้หน้าที่การใช้งานของข้อกลับคืนสู่ภาวะปกติหรือใกล้เคียงปกติมากที่สุด และป้องกันหรือแก้ไขการผิดรูปของข้อ วิธีการรักษาจะแตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละคน ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น อายุ ความรุนแรงของโรค การใช้งานที่คาดหวังและความพร้อมของผู้ให้การรักษา

วิธีป้องกันและการปฏิบัติ

  1. ควบคุมไม่ให้อ้วนเกินไป โดยการควบคุมอาหารและออกกำลังกาย
  2. บริหารกล้ามเนื้อรอบๆ ข้อนั้นให้แข็งแรง (วิธีการบริหารดูในการออกกำลังกาย)
  3. ลดการใช้งานข้อนั้นในท่าที่ผิดจากธรรมชาติ เช่น การนั่งยองๆ การนั่งพับเพียบ คุกเข่าและการนั่งขัดสมาธินานเกินไป เป็นต้น
  4. ขณะที่มีอาการปวด ควรรีบปรึกษาแพทย์ เพื่อให้การรักษาภาวะอักเสบของข้อ แล้วเริ่มทำกายภาพบำบัดเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้
  5. อาการปวดเริ่มแรกสามารถบรรเทาด้วยยาแก้ปวดพาราเซตามอล, การใช้กระเป๋าน้ำร้อนประคบจะช่วยลดการปวดเกร็งของกล้ามเนื้อ ขณะที่มีอาการปวดอยู่ควรหลีกเลี่ยงการขึ้นลงบันได หลีกเลี่ยงการยืนหรือเดินมาก ถ้าเดินควรใช้ไม้เท้าช่วยพยุงตัวเวลาเดินและใส่สนับเข่าเพื่อช่วยให้ข้อเข่ากระชับ
  6. ควรหลีกเลี่ยงการนั่งกับพื้น เช่น การนั่งพับเพียบ คุกเข่า ขัดสมาธิและนั่งยองๆ ควรนั่งเก้าอี้ห้อยขา หรือนั่งเหยียดขาตรง อย่านั่งนานๆ ควรเปลี่ยนอริยาบถบ่อยๆ และควรใช้โถส้วมแบบนั่งแทนแบบนั่งยองๆ
  7. ลดน้ำหนักเพื่อลดแรงกดกระแทกที่ข้อเข่าเวลาเดินหรือยืน
  8. บริหารกล้ามเนื้อรอบเข่าอย่างสม่ำเสมอ
  9. ถ้าอาการไม่ทุเลาควรปรึกษาแพทย์

arukouthailand ผลิตภัณฑ์ซัพพอร์ตเข่า คุณสามารถปรึกษาเกี่ยวกับเข่าของคุณกับผู้เชี่ยวชาญของเราได้ฟรี