Posted on Leave a comment

สารพัดปัญหากับ “อาการชาที่หัวเข่า”

อาการชาที่หัวเข่า

“อาการชาที่หัวข่าว” เป็นอาการหนึ่งที่เกิดจากร่างกายขาดวิตามินบี ซึ่งเป็นวิตามินที่มีส่วนช่วยในการบำรุงปลายเส้นประสาทโดยเฉพาะ แต่บางครั้ง อาการชาตามปลายมือปลายเท้าอาจเกิดจากสาเหตุอื่นๆ เช่น โรครูมาตอยด์ โรคเบาหวาน หรือภาวะขาดไทรอยด์ เป็นต้น เมื่อมีอาการหัวเข่าชา จึงไม่ควรนิ่งนอนใจเด็ดขาด เพราะนั่นอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคต่างๆ อาการชาขาข้างเดียวในลักษณะนี้อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุครับ เช่น

  • มีกระดูกสันหลังเสื่อมหรือเคลื่อน
  • มีช่องไขสันหลังตีบแคบ
  • เส้นประสาทบริเวณขาถูกกดทับ
  • เส้นเลือดที่ขาอุดตัน

สาเหตุที่ทำให้ชาที่หัวเข่า

  • การนอนทับเส้น หรือการอยู่ในท่าใดท่าหนึ่งนานเกินไป ซึ่งกดทับเส้นเลือด ทำให้เลือดไหลเวียนไม่สะดวก จนทำให้เกิดอาการชา
  • การขาดวิตามินบี เพราะวิตามินบีมีทำหน้าที่บำรุงและซ่อมแซมระบบประสาท หากร่างกายได้รับวิตามินบีน้อยเกินไปจะทำให้เส้นประสาทเกิดการอักเสบ และมีอาการมือเท้าชา
  • การป่วยด้วยโรคบางชนิด เช่น โรคเบาหวาน โรคพิษสุราเรื้อรัง
  • การได้รับสารเคมีหรือยาบางชนิด การถอนยา เช่น การได้รับยากันชัก พิษจากโลหะหนักบางชนิด อาการถอนยากลุ่ม Benzodiazepine
  • ภาวะเครียด หรือ วิตกกังกวล
สาเหตุที่ทำให้ชาที่หัวเข่า

มือเท้าชาเกิดจากโรคอะไรได้บ้าง

โรคที่เป็นสาเหตุของอาการมือเท้าชามีหลายโรค โดยจะมีระดับความรุนแรงแตกต่างกันไปตามชนิดของโรค เช่น

  • โรครูมาตอยด์ และโรคเกาต์ เป็นโรคที่เกี่ยวกับความผิดปกติของไขข้อกระดูก เนื่องจากกระดูกหรือข้ออยู่ในลักษณะที่ไม่ปกติ และขัดขวางการไหลเวียนของเลือด จึงทำให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายได้ช้า ซึ่งนอกจากจะทำให้เกิดอาการชาตามมือตามเท้าแล้ว ก็ยังส่งผลเสียต่อสุขภาพในด้านอื่นๆ อีกด้วย
  • โรคเบาหวาน อาการมือเท้าชา เป็นอาการหนึ่งของผู้ป่วยโรคเบาหวานที่เริ่มมีอาการรุนแรง ซึ่งในระยะนี้ผู้ป่วยจะต้องควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดอย่างเข้มงวดที่สุด เพื่อไม่ให้ระดับน้ำตาลเพิ่มสูงกว่าที่เป็นอยู่ 
    แต่สำหรับใครที่ไม่แน่ใจว่าตนเองเป็นโรคเบาหวาน ให้สังเกตว่า มีอาการอื่นๆ ของโรคเบาหวานหรือไม่ เช่น ปัสสาวะบ่อย อ่อนเพลีย ตาพร่ามัว หิวบ่อยมากขึ้น เป็นต้น หากพบว่ามีแนวโน้มจะเป็น ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาเบาหวาน และสาเหตุของอาการมือเท้าชาโดยด่วน
  • ภาวะขาดไทรอยด์ เมื่อมีอาการมือเท้าชา นั่นอาจเป็นสัญญาณเตือนของภาวะขาดไทรอยด์ ซึ่งสังเกตได้จากการเป็นตะคริวบ่อยๆ มีอาการปวดตามกล้ามเนื้อ เหนื่อยง่าย บางรายอาจมีอารมณ์ฉุนเฉียว หงุดหงิดง่าย และหัวใจเต้นผิดจังหวะร่วมด้วย
    หากอาการไม่รุนแรง สามารถบรรเทาอาการได้ด้วยการงดรับประทานอาหารที่มีไขมัน เลือกรับประทานธัญพืชเป็นอาหารหลัก และเสริมด้วยอาหารเสริมจำพวกแร่ธาตุสังกะสี และแร่ธาตุซีเลเนียม
  • พิษสุราเรื้อรัง เป็นอีกหนึ่งโรคที่ทำให้เกิดอาการมือเท้าชาได้ เกิดจากการดื่มสุรามากเกินไป ในขณะเดียวกันก็รับประทานอาหารไม่ครบ 5 หมู่ จึงทำให้ร่างกายขาดสารอาหารและวิตามินที่มีประโยชน์ ส่งผลให้เกิดอาการมือเท้าชาในที่สุด
    สำหรับใครที่มีอาการมือเท้าชาบ่อยๆ และเป็นคนที่ชอบดื่มสุราเป็นประจำด้วยแล้ว สงสัยได้เลยว่า นั่นอาจเกิดจากโรคพิษสุราเรื้อรังก็ได้
  • ภาวะติดเชื้อ เกิดจากร่างกายติดเชื้อ ไม่ว่าจะเป็นเชื้อไวรัสหรือเชื้อแบคทีเรีย ทำให้ภาวะภูมิคุ้มกันแย่ลง หรือภูมิคุ้มกันบกพร่อง ส่งผลให้ร่างกายต้องสูญเสียวิตามินบางชนิดไปเป็นจำนวนมากโดยเฉพาะวิตามินบี ซึ่งเป็นสาเหตุของอาการชาตามปลายมือปลายเท้า นอกจากนี้ หากเป็นการติดเชื้อในกระแสโลหิต ก็อาจเสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้
    วิธีสังเกตว่า ตนเองติดเชื้อในกระแสโลหิตหรือไม่ ให้ดูว่า มีไข้สูงกว่า 38 องศาเซลเซียส หัวใจเต้นเร็วและหายใจเร็วกว่าปกติร่วมด้วยหรือไม่ หากไม่แน่ใจ ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจเม็ดเลือดขาวซึ่งจะทราบผลได้เร็วที่สุด
  • โรคประจำตัวเรื้อรัง สำหรับผู้ที่ป่วยด้วยโรคประจำตัวบางโรค ก็อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการมือเท้าชาได้เหมือนกัน เช่น โรคหลอดเลือด โรคไต โรคอักเสบเรื้อรัง หรือในวัยหมดประจำเดือน เป็นต้น

วิธีรักษาอาการมือเท้าชา

วิธีรักษาอาการมือเท้าชา แบ่งออกตามความรุนแรงและอาการ ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 วิธี ดังนี้

  • การรักษาเมื่ออาการไม่รุนแรง
    กรณีที่มีอาการมือเท้าชาแบบไม่รุนแรงมากนัก เช่น มีอาการชาแปล็บๆ ซ่าๆ เป็นระยะ สามารถรักษาได้ด้วยการเปลี่ยนท่าทางใหม่ หรือสะบัดข้อมือสักพัก ก็จะช่วยให้อาการชาค่อยๆ ทุเลาลง และหายไปในที่สุด แต่หากมีอาการชาแบบนี้บ่อยๆ อาจรักษาด้วยการรับประทานวิตามินบีเสริม และให้ยาต้านการอักเสบของเส้นประสาทและเส้นเอ็น ซึ่งจะช่วยบำรุงและซ่อมแซมเส้นประสาทได้ดี
  • การรักษาเมื่ออาการรุนแรงและต่อเนื่อง
    สำหรับผู้ที่มีอาการชามือและเท้า แบบรุนแรงและต่อเนื่อง แม้จะสะบัดมือหรือเปลี่ยนท่าทางแล้ว อาการชาก็ยังไม่ทุเลาลง การรักษาเริ่มแรก แพทย์จะให้ยาต้านการอักเสบของเส้นประสาทก่อน และเฝ้าดูผลการรักษา หากอาการยังไม่ดีขึ้นก็จะใช้วิธีการรักษาด้วยการผ่าตัด โดยจะผ่าตัดเอ็นที่กดรัดเส้นประสาทนั้นออก
  • การรักษาตามอาการ
    หากอาการมือเท้าชา มีสาเหตุมาจากโรคร้ายบางโรค การรักษาจะต้องรักษาตามอาการที่เป็นอยู่ พร้อมกับรักษาโรคที่เป็นต้นเหตุไปด้วย เพื่อบรรเทาอาการให้ค่อยๆ ทุเลาลง และไม่รุนแรงกว่าเดิม นอกจากนี้ ในบางรายแพทย์ก็อาจจะให้วิตามินเสริมแก่ร่างกาย โดยเฉพาะวิตามินบีที่จะช่วยบำรุงระบบประสาท และลดอาการชาตามมือตามเท้าได้ดี

arukouthailand ผลิตภัณฑ์ซัพพอร์ตเข่า คุณสามารถปรึกษาเกี่ยวกับเข่าของคุณกับผู้เชี่ยวชาญของเราได้ฟรี