Posted on Leave a comment

ปวดเข่าข้างเดียว อาการที่เกิดคุณได้ทุกเมื่อ

ปวดเข่าข้างเดียว อาการที่เกิดคุณได้ทุกเมื่อ

ปวดเข่าข้างเดียว คืออาการปวดที่เกิดขึ้นบริเวณข้อต่อซึ่งเชื่อมระหว่างกระดูกต้นขาและกระดูกหน้าแข้ง ซึ่งเป็นส่วนที่ใช้รองรับน้ำหนักของร่างกาย มีหน้าที่ช่วยในการเคลื่อนไหวของขาให้สามารถยืดและงอได้ หัวเข่าเป็นอวัยวะที่เคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา อาการปวดสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย แต่กลุ่มเสี่ยงมักเป็นผู้สูงอายุ ผู้ที่มีน้ำหนักเกิน ส่วนมากมักจะไม่ค่อยมีใครให้ความสำคัญกับการดูแลเข่า นอกจากเข่าเกิดอาการบาดเจ็บจึงจะทำการดูแลรักษา ซึ่งการที่ทำการดูแลเฉพาะเวลาที่เกิดการบาดเจ็บขึ้นแล้ว  นั้น เข่าก็อาจจะไม่สามารถกลับมาใช้ได้ดังเดิม ทาง arukou ขอแนะนำให้ท่านได้อ่านบทความนี้

ปวดเข่าข้างเดียวในวัยรุ่น

หากยังอายุไม่ถึง 45 อย่าลืมไปตรวจเช็คสาเหตุอื่นๆ ถ้ามีอาการปวดข้อต่ออื่นๆร่วมด้วย อาจมีสาเหตุจากทั้งเก๊าท์ เก๊าท์เทียม รูมาตอย โรคภูมิแพ้ตัวเองต่างๆ ในอายุน้อยๆสามารถออกกำลังได้ปกติ แต่ต้องศึกษาท่าทางการออกกำลังอย่างถูกต้องเพื่อป้องกันการบาดเจ็บของข้อเข่า หากปวดมาก หรือน้ำหนักตัวมาก หรืออายุ 45 ปีขึ้นไปมีความเสี่ยงต่อข้อเข่าเสื่อมมากขึ้น อาจจะหลีกเลี่ยงท่าออกกำลังที่ต้องใช้เข่า ท่าที่ต้องกระโดด ท่าสควอท หากอายุยังไม่เกิน 30 ปีควรเริ่มเสริมความแข็งแรงให้มวลกระดูก ควรได้รับแคลเซียมวันละ 800 – 1500 มิลลิกรัมต่อวัน มีมากในนม นมถั่วเหลือง เต้าหู้ ถั่วต่างๆ ชีส ปลาเล็กปลาน้อย งาดำ ไม่ควรรับประทานเกินกว่านี้เพราะอาจทำให้ท้องผูก เกิดแคลเซียมสะสมเป็นตะกอนนิ่ว หรือสูงมากอาจทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะได้ นอกจากนี้เพื่อให้แคลเซียมดูดซึมได้ดีควรได้ควบคู่กับวิตามินดีและฟอสฟอรัส (เช่นจากเนื้อสัตว์ ถั่ว นม ไข โดยมากอาหารที่มีแคลเซียมสูงมักมีฟอสฟอรัสอยู่แล้ว) ส่วนเรื่องการดูแลกระดูกอ่อนรองข้อเข่า อาจเสริมด้วยอาหารที่มีซิงค์และวิตามินซีสูง เพราะสองตัวนี้จะช่วยเรื่องการสร้างคอลลาเจนอันเป็นส่วนประกอบของเนื้อเยื่อเกี่ยวพันของร่างกาย (เนื้อเยื่อเกี่ยวพันก็คือเนื้อเยื่อจำพวกเอ็น กระดูกอ่อน ส่วนประกอบของผิวหนัง) หากอายุมากขึ้น อาจลดปริมาณการออกกำลังที่ต้องใช้ข้อเข่าเยอะลงนะ เพราะข้อเข่าจะเริ่มเสื่อมตามวัยอยู่แล้ว

ปวดเข่าข้างเดียว สาเหตุ
อาการที่เกิดขึ้นได้กับวัยรุ่น ไม่จำเป็นต้องสูงวัยเสมอไป

วิธีป้องกันปวดเข่าข้างเดียว และปวดเข่าในวัยรุ่น

  1. บริหารกล้ามเนื้อรอบหัวเข่าอยู่เสมอ โดยนั่งเหยียดและกระดกปลายเท้าโดยไม่งอเข่า และสามารถออกกำลังกายบริหาร โดยใช้ท่าหมุนหัวเข่า หมุนไปกลับ 3 เช็ต เช็ตละ 20 ครั้ง หรืออาจเป็นท่าอื่นๆ ที่ใกล้เคียงได้
  2. หลีกเลี่ยงการขึ้นลงบันไดบ่อยๆ หรือหลายขั้นๆ มากเกินไป
  3. ควบคุมน้ำหนักของร่างกายไม่ให้มากเกินกว่าเกณฑ์มาตรฐาน
  4. หากมีอาการปวดหัวเข่ามากๆ จนทนไม่ไหว สามารถเลือกทานยาแก้อักเสบของข้อเข่าได้ แต่ควรทานเมื่อจำเป็นเท่านั้น
  5. หลีกเลี่ยงอิริยาบถที่ต้องงอเข่ามากๆ เช่น การนั่งยองๆ นั่งพับเพียบ นั่งขัดสมาธิ หรือนั่งคุกเข่านานๆ

หากมีอาการเจ็บปวดมาก หรือรู้สึกเสียงแปร๊บที่หัวเข่า ควรรีบพบแพทย์เพื่อทำการรักษาอย่างถูกวิธี อย่าซื้อยามาทานเองทุกครั้งที่มีอาการปวดเป็นอันขาด เพราะนอกจากจะไม่ใช่วิธีการรักษาที่ถูกต้องแล้ว อาจมีความเสี่ยงที่จะดื้อยา หรือใช้ยาแก้อักเสบที่ไม่ถูกต้องได้

arukouthailand ผลิตภัณฑ์ซัพพอร์ตเข่า คุณสามารถปรึกษาเกี่ยวกับเข่าของคุณกับผู้เชี่ยวชาญของเราได้ฟรี