ในปัจจุบันนี้คนส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับการออกกำลังกายกันมากขึ้น และหลายคนคงมีอาการปวดตามข้อเวลาออกกำลังกาย หรือเล่นกีฬาประเภทที่ต้องกระโดด หรือวิ่งมากๆ เป็นเวลานาน และอาจรู้สึกปวดตามข้อ หรือในเวลาที่อากาศเย็นขึ้น บุคคลประเภทนี้มีความเป็นไปได้สูงที่จัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่เป็นโรคข้ออักเสบ
โรคข้ออักเสบ เป็นชื่อเรียกโดยรวมของโรคกลุ่มนี้ซึ่งแยกออกมาได้กว่า 200 ชนิดที่พบบ่อยมีอยู่ 2 ชนิด คือ โรคข้อเสื่อม หรือข้ออักเสบเรื้อรัง และโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ หรือปวดข้อรูมาตอยด์ ทั้ง 2 ชนิด มีสาเหตุของโรคต่างกันคือ
โรคข้อเสื่อมนั้น เกิดจากความทรุดโทรมของกระดูกอ่อนที่หุ้มข้อกระดูกค่อยๆ หายไป ทำให้ข้อกระดูกเสียดสีกันเวลาเคลื่อนไหว จนเกิดอาการข้อยึด ส่งผลให้ปวดบริเวณข้อ โดยเฉพาะเวลาอากาศเย็น ส่วนโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ ยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด แต่สาเหตุที่พบบ่อยคือ เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายผิดปกติ เกิดการทำลายข้อต่อกระดูกของตนเอง และโรคนี่ยังสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกวัย โดยเฉพาะช่วยอายุระหว่าง 22-55 ปี และเพศหญิงมีแนวโน้ม ที่จะเป็นโรคนี่ได้มากกว่า เพศชายถึง 3 เท่า ทั้งยังเป็นโรคเรื้อรัง ที่มีอาการเป็นๆ หายๆ ไปตลอด แต่ในผู้ป่วยบ้างชนิดก็เป็นไปได้เช่นกัน
ส่วนผู้ที่มีแนวโน้มจะเป็นโรคข้ออักเสบนั้น ส่วนใหญ่แล้วเป็นคนที่มีน้ำหนักตัวมากกว่าเกณฑ์ปกติ หรือแม้แต่นักกีฬาที่มีร่างกายแข็งแรง ก็มีสิทธิ์เป็นได้นักกรีฑา นักวิ่ง นักกระโดดสูง ล้วนอยู่ในกลุ่มเสี่ยง เพราะจำเป็นต้องใช้ข้อต่อต่างๆ โดยเฉพาะที่หัวเข่า และข้อเท้ามากเป็นพิเศษ ในการวิ่งหรือกระโดด ทำให้เกิดแรงกดที่ข้อกระดูก เหมือนคนที่มีน้ำหนักมากเช่นกัน
โรคข้ออักเสบเป็นโรคที่พบบ่อย แต่มักจะรู้จักกันในชื่อของ“ข้อเสื่อม”
- โรคข้ออักเสบเป็นโรคที่มากับอายุ เกิดจากกระดูกอ่อนระหว่างข้อต่อเสื่อมสภาพลง ทำให้ข้อต่อเสียดสีกันจนเกิดอาการอักเสบและปวดข้อ พบได้บ่อยในผู้ชายที่อายุต่ำกว่า 45 ปี แต่ในผู้หญิงที่อายุ 45 ปี ขึ้นไปจะพบมากขึ้นเป็น 10 เท่า
- ข้ออักเสบอีกชนิดหนึ่งคือโรคข้ออักเสบรูมาทอยด์ จะเกิดขึ้นเมื่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายจำเซลล์ตัวเองไม่ได้ จึงเริ่มต่อต้านและจู่โจมเนื้อเยื่อตัวเองที่อยู่ส่วนปลายของกระดูก กระตุ้นให้เกิดการอักเสบเรื้อรัง และมีผลให้เกิดอาการปวดทั่วร่างกาย โดยเฉพาะตามข้อ
- นักวิจัยพบว่า ผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกินพิกัด 20 เปอร์เซ็นต์ขึ้นไป เพิ่มความเสี่ยงโรคข้ออักเสบมากกว่าผู้ที่มีน้ำหนักปกติถึง 3 เท่า ฉะนั้นผู้มีน้ำหนักเยอะจึงจำเป็นต้องลดน้ำหนักเพื่อลดภาวะข้อต่อในการรองรับน้ำหนัก
- เชื่อหรือไม่ว่า เพียงแค่ลดน้ำหนักลงเล็กน้อย เช่น ½ กิโลกรัม ก็จะบรรเทาอาการปวดลงได้มาก เพราะช่วยลดน้ำหนักที่ข้อต่อจะต้องรองรับได้ถึง 2 กิโลกรัม และยังช่วยลดปัญหาสุขภาพอื่นๆ ที่จะตามมากับน้ำหนักตัวได้
- การลดน้ำหนักอย่างน้อยเพียง 5 เปอร์เซ็นต์ร่วมกับการออกกำลังกายสม่ำเสมอเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการลดอาการปวด
อาหารและสมุนไพรต้านข้ออักเสบ
ส่วนใหญ่แล้วแนะนำให้บริโภคอาหารลักษณะเดียวกับผู้ควบคุมน้ำหนัก ซึ่งเน้นเป็นอาหารไขมันต่ำ และเน้นให้ทานผัก-ผลไม้เป็นหลัก เพราะคนอ้วนหรือคนที่ป่วยเป็นโรคข้ออักเสบ แพทย์แนะนำให้พยายามควบคุมน้ำหนัก ควบคู่กับการรักษาโรคด้วยยา โดยเน้นไปที่อาหารกลุ่มธัญพืชที่มีการขัดสีน้อย เช่น ข้าวกล้อง แป้งไม่ขัดขาว และผักใบเขียวต่างๆ ที่เป็นแหล่งเบต้า-แคโลทีน แคลเซียม โดเลต เหล็ก วิตามินซี ควรกินให้ได้ทุกวัน วันละนิดก็ได้ แต่ควรให้รับสม่ำเสมอ
นอกจากอาหารควบคุมน้ำหนักต่างๆ แล้ว ผู้ป่วยโรคนี้ ควรบริโภคปลาที่มีน้ำมันปลาด้วย เพราะมีหลักฐานว่า กรดไขมันโอเมก้า-3 ที่อยู่ในกฎไขมันไม่อิ่มตัวในปลา มีคุณสมบัติยับยั้งการอักเสบของข้อกระดูก จึงแนะนำให้บริโภคเฉลี่ย 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ หรืออาจกินในรูปของแคปซูลน้ำมัน ปลาแต่ต้องกินตามคำแนะนำบนฉลาก ไม่ควรกินเกินกว่าที่กำหนดไว้ นอกจากน้ำมันปลาแล้ว น้ำมันจากดอกอีฟนิ่งพริมโรส ก็มีคุณสมบัติช่วยลดการอักเสบได้เช่นกัน ก่อนกินควรปรึกษาแพทย์ก่อนว่า สามารถกินได้หรือไม่
- อาหารสามารถป้องกันข้ออักเสบและช่วยในการบำบัดข้อเสื่อมได้ ฉะนั้นสิ่งที่คุณเลือกตักใส่ปากจะมีผลต่อการลดหรือเพิ่มอาการเจ็บปวดของข้อด้วย นักวิจัยชาวเยอรมันพบว่า การอดอาหารช่วงสั้นๆ และตามด้วยการกินอาหารมังสวิรัติประมาณ 3 เดือนช่วยบรรเทาอาการอักเสบของข้อได้ รวมทั้งการหลีกเลี่ยงอาหารที่ก่อให้เกิดอาการแพ้ก็สามารถลดอาการจากโรคข้อเสื่อมได้เช่นกัน
- นักวิจัยชาวสวีเดนพบว่า ผู้ที่ทนทุกข์ทรมานกับโรคข้ออักเสบหลังจากที่เปลี่ยนมาบริโภคอาหารเมติเตอร์เรเนียน ซึ่งประกอบไปด้วย ผัก ถั่วต่างๆ ผลไม้ ธัญพืชไม่ขัดสี ปลา น้ำมันมะกอด และแอลกอฮอล์ (โดยเฉพาะไวน์) เพียงเล็กน้อยติดต่อกันเพียง 3 เดือน (หากไม่มีข้อห้ามจากปัญหาโรคร่วมอื่นหรือจากแพทย์ และจำกัดไขมันอิ่มตัวให้น้อยที่สุด) พบว่า สามารถลดการอักเสบและทำให้ข้อต่อทำงานได้ดีขึ้น
- การบริโภคผัก ผลไม้ และสมุนไพรเป็นประจำจะเป็นประโยชน์ในการป้องกันโรคมากมาย รวมทั้งข้ออักเสบ นักวิจัยจากอังกฤษพบว่า อาหารที่อุดมไปด้วยสารแคโรทีนอยด์ เบต้าคริปโทแซนทิน และ ซีแซนทิน ซึ่งมีสีแดง ส้ม เหลือง เขียว จากผักและผลไม้จะช่วยป้องกันโรคข้ออักเสบรูมาทอยด์ได้ดีกว่าอาหารที่มีสารพิกเมนต์หรือเม็ดสีน้อย นักวิจัยแนะว่า เพียงดื่มน้ำส้มวันละแก้วก็สามารถลดความเสี่ยงของข้ออักเสบรูมาทอยด์ได้
- ล่าสุดนักวิจัยพบว่าผลไม้ประเภทเชอร์รี่ บลูเบอร์รี่ และแบล็กเบอร์รี่มีสารฟลาโวนอยด์ซึ่งมีฤทธิ์เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยบำบัดอาการจากโรคข้ออักเสบได้ นอกจากนี้กระเทียม หอม แขนงผัก และกะหล่ำปลี ยังมีสารประกอบของกำมะถันซึ่งมีฤทธิ์เป็นยา ช่วยในการบำบัดอาการข้ออักเสบได้
- สมุนไพรบางชนิด เช่น ขิง มีฤทธิ์ลดอาการปวดและต้านการอักเสบ เชื่อกันว่าขิงสามารถช่วยลดอาการปวดข้อ ข้ออักเสบ และป้องกันกระเพาะอาหารจากผลข้างเคียงในคนที่ใช้ยาต้านการอักเสบประเภทเอ็นเสดส์ (NSAIDs) ได้ มีข้อมูลการวิจัยทางคลินิกที่แสดงให้เห็นว่าสารสกัดจากขิงช่วยลดอาการปวดจากโรคข้อเข่าได้
arukouthailand ผลิตภัณฑ์ซัพพอร์ตเข่า คุณสามารถปรึกษาเกี่ยวกับเข่าของคุณกับผู้เชี่ยวชาญของเราได้ฟรี