ข้อเข่าเทียมอีกทางเลือกในการรักษาของผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมทาง arukou ขอแนะนำให้รู้จักเกี่ยวกับข้อเข่าเทียมกันสักหน่อย
เข่าเป็นข้อที่ใหญ่ที่สุดในร่างกาย ประกอบด้วยส่วนกระดูก 3 ชิ้น คือ ส่วนปลายของกระดูกต้นขา ส่วนบนของกระดูกหน้าแข้ง และกระดูกสะบ้าหัวเข่าโดยมีเอ็นยึดกระดูกทั้ง 3 ไว้ให้มั่นคง และมีกล้ามเนื้อเกาะตามกระดูกเพื่อความเคลื่อนไหว บริเวณผิวของกระดูกทั้ง 3 ชิ้นจะคลุมด้วยกระดูกอ่อน ซึ่งมีลักษณะสีขาวมันเรียบ กระดูกอ่อนจะทำหน้าที่เป็นเบาะกันการกระแทกกันของกระดูก และผิวที่เรียบทำให้ข้อเคลื่อนไหวได้ดีขึ้น ส่วนที่เหลือของข้อเข่าที่ไม่ได้คลุมด้วยกระดูกอ่อนจะถูกคลุมด้วยเยื่อหุ้มข้อ ซึ่งมีลักษณะบางและเรียบทำหน้าที่สร้างน้ำหล่อเลี้ยงข้อ ซึ่งน้ำหล่อเลี้ยงข้อจะช่วยหล่อลื่นบริเวณผิว
การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม
การรักษาข้อเข่าอักเสบเริ่มจากเปลี่ยนวิธีการใช้งาน ลดกิจกรรมที่ทำให้เกิดแรงกดและกระแทกที่เข่า เช่น การนั่งยองๆ, คุกเข่า, ขึ้นลงบันได, วิ่ง หรือการยกของหนัก ทานยาเพื่อลดการอักเสบในเข่า การบริหารกล้ามเนื้อเพื่อให้เข่ามีการเคลื่อนไหวที่มั่นคง ถ้าการรักษาเหล่านี้ไม่ได้ผล อาจพิจารณาฉีดยาเข่าในข้อเข่าเพื่อลดการอักเสบและเพื่อเพิ่มการหล่อลื่นในเข่า เช่น ยาพวกสเตอรอยด์ หรือน้ำหล่อเลี้ยงข้อเทียมสังเคราะห์ หากยังไม่ได้ผลอาจใช้วิธีการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมอาจทำให้ผู้ป่วยลดการเจ็บปวดและสามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ
สาเหตุสำคัญที่ต้องผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม
- ข้อเข่าเสื่อม เป็นโรคที่เกิดจากการสึกกร่อนของ “ผิวกระดูกอ่อน” ของข้อเข่า ซึ่งมีสาเหตุมาจากอายุที่มากขึ้นและการใช้งานข้อเข่าหนัก ทำให้มีการขัดสีและถลอกของผิวกระดูกอ่อนที่หุ้มอยู่รอบเข่าจนถึงเนื้อกระดูก ทำให้เกิดอาการเจ็บปวด หรือบางกรณี ข้อเข่าอาจมีการซ่อมแซมตัวเอง และพอกตัวหนาขึ้น เกิดเป็นกระดูกงอกขรุขระขึ้นภายในข้อ ซึ่งทำให้การเคลื่อนไหวติดขัดและมีเสียงดัง ผู้ป่วยที่มีอาการมาก หมายถึง กระดูกงอกผิดปกติหรือมีการสึกกร่อนไปมาก จะทำให้ขาโก่งเข้าด้านในหรือเกบิดออกนอก ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้การรับน้ำหนักของข้อเข่าผิดปกติได้ โดยส่วนใหญ่ผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมจะเป็นผู้สูงอายุ และเพศหญิงมีโอกาสเกิดโรคข้อเข่าเสื่อมมากว่าเพศชาย
- ข้ออักเสบเรื้อรัง โรคที่พบบ่อย คือ ข้ออักเสบรูมาตอยด์ โดยข้ออักเสบเรื้อรังจะทำให้เยื่อหุ้มข้ออักเสบหนาตัวขึ้น มีการสร้างน้ำหล่อเลี้ยงข้อมากขึ้นทำให้เข่าบวมแดง เมื่อมีการอักเสบนานจะทำให้ส่วนกระดูกถูกทำลาย
- ข้ออักเสบจากอุบัติเหตุ อุบัติเหตุเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้กระดูกอ่อนผิวข้อถูกทำลาย จากแรงกระแทกที่รุนแรง หรือจากการแตกร้าวของกระดูกและกระดูกอ่อน ซึ่งเป็นผลทำให้ผิวข้อเสียไม่เรียบ
การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมสมควรทำในผู้ป่วย
- ปวดเข่ามากจนทำให้ไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ เช่น ปวดมากเวลาเดิน ขึ้นลงบันได ลุกหรือนั่ง
- ปวดเข่าเวลาพัก เช่น ปวดเวลานอน
- มีการอักเสบบวมแดงของเข่า โดยมีอาการบ่อยและเรื้อรัง
- มีการผิดรูปของเข่า เช่น เข่าโค้งออก หรือเกเข้าใน
- ขยับเข่าติดขัดลำบาก งอ หรือเหยียดเข่าลำบาก
- ใช้การรักษาแบบอื่น เช่น เปลี่ยนวิธีการใช้งาน ยาทาน หรือการฉีดยาเข้าในเข่าไม่ได้ผล
ส่วนใหญ่การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมจะทำในผู้ป่วยอายุ 60 – 80 ปี การพิจารณาผ่าตัดจะพิจารณาเป็นรายๆ ไปขึ้นอยู่กับอาการและความรุนแรงของโรค
มากกว่า 90 เปอร์เซ็นของผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเทียมจะรู้สึกเจ็บปวดลดลง และสามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้ใกล้เคียงกับปกติ กิจกรรมที่ควรหลีกเลี่ยงหลังการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม คือ กีฬาที่มีแรงกระแทกรุนแรงที่ข้อเข่า เช่น การวิ่งหรือกระโดด ซึ่งแรงกระแทกจะทำให้ส่วนที่เป็นพลาสติกเสื่อมสภาพเร็วขึ้น นอกจากนี้การนั่งคุกเข่า นั่งยองๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนั่งส้วมแบบนั่งยองๆ ควรหลีกเลี่ยงเด็ดขาด
ข้อเข่าเทียมอายุการใช้งาน
โดยปกติแล้วข้อเข่าเทียมมีอายุประมาณ 10 ปีขึ้นไป หากเสื่อมอีกครั้งลำบากแน่เพราะข้อเทียมเก่าจะมีพังพืด แล้วการผ่าจะยากมาก การใช้งานอยู่ที่เราด้วยถ้าใช้หนักก็เสื่อมไวแต่ถ้าถนอมก็ยืออายุได้นั่นเอง
arukouthailand ผลิตภัณฑ์ซัพพอร์ตเข่า คุณสามารถปรึกษาเกี่ยวกับเข่าของคุณกับผู้เชี่ยวชาญของเราได้ฟรี