ปวดขา (Leg Pain) คืออาการปวดบริเวณขาที่เกิดขึ้นบางจุดหรือทั่วทั้งขา โดยอาจมีอาการชา ปวดแปลบ หรือปวดร้าวร่วมด้วย ซึ่งอาจเป็นผลจากโรคบางชนิด การบาดเจ็บ หรือการทำกิจกรรมที่ใช้ขามากเกินไป เช่น การเดินนาน ๆ หรือการออกกำลังกาย การวินิจฉัยจากแพทย์จะช่วยให้ทราบถึงสาเหตุของอาการปวดขา เพื่อการรักษาและป้องกันที่ถูกต้อง
อาการปวดขา มักเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ และวัยทำงาน ซึ่งอาการปวดขาเหล่านี้อาจหายไปได้เอง หรือเป็นไม่กี่วันก็หาย แต่หากคุณไม่เพียงแค่ปวดขาอย่างเดียว แต่สังเกตุได้ว่ามีอาการปวดหลังร่วมด้วย นั่นอาจบอกได้ว่าคุณกำลังมีความผิดปกติจากความผิดปกติของหลังแล้วร้าวลงไปที่ขาค่ะ
อาการปวดขา
ปวดขามักมีลักษณะอาการและบริเวณที่ต่างกันไป โดยอาจรู้สึกปวดเสียด หรือปวดแสบบริเวณต้นขา หน้าแข้ง หรือน่อง การปวดขาอาจเกิดขึ้นเป็นพัก ๆ หรือต่อเนื่อง และอาจดีขึ้นได้เองขณะพัก หรืออาจมีอาการอื่นเกิดขึ้นร่วมด้วย เช่น เหน็บชา ตะคริว ปวดร้าว หรือปวดตุบ ๆ เป็นต้น
อาการปวดขาอาจเป็นสัญญาณของโรคต่าง ๆ ผู้ป่วยจึงควรพบแพทย์หากมีอาการดังต่อไปนี้ เพื่อรับการรักษาและป้องกันการพัฒนาของอาการที่อาจเกิดขึ้น
- ปวดขามากขึ้นเรื่อย ๆ
- ปวดขาขณะทำหรือหลังทำกิจกรรม เช่น การเดิน
- ขาบวม หรือมีเส้นเลือดขอด
- ปวดต้นขาขณะนั่งเป็นเวลานาน
- ขาเริ่มซีด ฟกช้ำ บวม หรือเย็นผิดปกติ
- มีปัญหาเกี่ยวกับการหายใจ
- มีสัญญาณการติดเชื้อ เช่น มีไข้สูงกว่า 38 องศาเซลเซียส บริเวณที่ปวดเริ่มแดง กดแล้วเจ็บ
สาเหตุของอาการปวดขา
1.เจ็บหน้าแข้ง หากคุณเจ็บที่บริเวณด้านหน้าของหน้าแข้ง มักจะเกิดจากการใช้งานที่มากเกินไปโดยเฉพาะในผู้ที่เพิ่งเริ่มหรือเพิ่มการออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมต่างๆ อย่างรวดเร็ว เช่นในผู้ที่เริ่มวิ่งระยะทาง 2 กิโลเมตรทันทีในครั้งแรกเป็นต้น เนื่องจากร่างกายนั้นไม่พร้อมสำหรับการทำกิจกรรมที่เพิ่มขึ้นมากขนาดนั้น หากคุณมีอาการนี้ให้พักการใช้ยา ใช้น้ำแข็งประคบเพื่อลดบวมและรับประทานยาแก้อักเสบ เพื่อให้มั่นใจว่าอาการนี้จะไม่ได้ทำให้เกิดกระดูกหักจากความเครียดที่เพิ่มมากขึ้น คุณอาจจะพยายามรักษาระดับวิตามินดีให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม
2.ตะคริว การเป็นตะคริวที่ขามักจะไม่ได้หายทันทีและมักจะมีอาการอย่างน้อยช่วงนี้ ตะคริวอาจเกิดจากการขาดน้ำ หรือในบางครั้งการเดินมากกว่าปกติเพียงเล็กน้อยก็อาจจะกระตุ้นให้เกิดตะคริวได้ โดยปกติตะคริวมักจะมีอาการนานหลายวินาทีถึงหลายนาที และสามารถหายได้จากการประคบร้อน พักขา และยืดกล้ามเนื้อ แต่คุณจำเป็นต้องแยกตะคริวออกจากอาการปวดที่เกิดจากลิ่มเลือดอุดตันที่เส้นเลือดดำ ซึ่งมักจะมีอาการปวดเรื้อรังในระดับที่ลึกลงไปร่วมกับอาการบวม ซึ่งเป็นภาวะที่ต้องรีบไปพบแพทย์ทันที
3.ปวดเข่า หากคุณปวดเข่าเพิ่มขึ้นเวลาขยับข้อหรือกดที่ข้อ หรือข้อมีอาการบวมหรือแดง คุณอาจจะมีการอักเสบเกิดขึ้นที่ถุงน้ำในข้อเข่า วิธีรักษาให้พักการใช้งาน ประคบเย็น และใช้ยาแก้ปวดหากต้องการ และหากคุณต้องย่อเข่าซ้ำๆ หรือเข่าต้องสัมผัสกับพื้นแข็ง ควรใส่ที่ช่วยพยุงเข่า หากอาการปวดและบวมไม่ดีขึ้นหรือแย่ลงควรไปพบแพทย์
4.ปวดแปล๊บหลังขา เป็นอาการปวดแปล๊บที่ร้าวลงตามด้านหลังของขาซึ่งอาจเกิดจากการที่เส้นประสาท Sciatic ซึ่งวิ่งจากหลังส่วนล่าง ผ่านก้นเข้าสู่ขานั้นถูกกดทับ ภาวะนี้มักพบในผู้ชายที่ใส่กระเป๋าเงินที่หนักไว้ที่กระเป๋าด้านหลังของกางเกง วิธีแก้คือการลดแรงกดทับที่กระทำต่อเส้นประสาท (เช่นทำให้กระเป๋าเงินนั้นเบาลง) และอาการปวดนั้นมักจะดีขึ้น
5.การบาดเจ็บที่เอ็นร้อยหวาย อาการปวดที่เหนือต่อส้นเท้านั้นมักจะเป็นอาการที่แสดงถึงการบาดเจ็บที่เอ็นร้อยหวาย ซึ่งมักเกิดจากการใส่รองเท้าส้นสูงหรือใช้งานมากโดยเฉพาะในผู้ที่มีเท้าแบน อย่าละเลยอาการปวดนี้และยังคงวิ่ง เดินเร็ว หรือออกกำลังกายอื่นๆ ต่อไป เพราะคุณอาจทำให้เส้นเอ็นขาดซึ่งอาจจะต้องใช้การผ่าตัดในการรักษา
6.อาการปวดขาในเด็ก เด็กมักจะตื่นจากการที่มีตะคริวที่ขาอย่างรุนแรงและปวดขา อาการดังกล่าวนั้นอาจเกิดจากการที่กระดูกของเด็กนั้นมีการเจริญเติบโต และทำให้กล้ามเนื้อและเส้นเอ็นนั้นถูกยืด ทำให้เกิดอาการปวดบนตำแหน่งที่ติดกับกระดูก การประคบเย็น ใช้ยาแก้ปวดและยืดกล้ามเนื้อสามารถช่วยลดโอกาสในการเกิดอาการนี้ได้
7.ปวดต้นขา คนงานก่อสร้าง ตำรวจ และอาชีพอื่นๆ ที่ต้องใส่เข็มขัดหนักๆ นั้นมักจะพบว่ามีอาการปวดที่ต้นขา ซึ่งเกิดจากการที่เข็มขัดนั้นทำให้กดทับเส้นประสาทที่อยู่รอบสะโพก อาการปวดนั้นอาจจะร้าวมาตามต้นขาได้ ทางแก้ในระยะยาวก็คือการลดน้ำหนักของเข็มขัดที่ใส่เพื่อลดการกดทับที่กระทำต่อเส้นประสาท
การรักษาอาการปวดขา
การรักษาด้วยตนเอง ผู้ป่วยสามารถใช้วิธีการต่อไปนี้ได้เพื่อบรรเทาอาการปวด ตะคริวหรือการบาดเจ็บเล็ก ๆ น้อย ๆ
- พักการใช้ขา และวางขาไว้บนหมอนหรือตำแหน่งที่สูงกว่าลำตัว
- ประคบน้ำแข็งบริเวณที่รู้สึกปวดหรือเคล็ด 4 ครั้งต่อวัน เป็นเวลา 15 นาที
- รับประทานยาแก้ปวด เช่น พาราเซตามอล และแอสไพริน
- ใส่ผ้ารัดขาเพื่อช่วยป้องกันอาการบวม ลดการเกิดลิ่มเลือด และทำให้ระบบการไหลเวียนโลหิตในขาดีขึ้น
- อาบน้ำอุ่นช่วยคลายกล้ามเนื้อ
- หากผู้ป่วยปวดขาท่อนล่าง ให้ยืดหรือเหยียดนิ้วเท้าออกให้ตรง หรือหากมีอาการปวดขาท่อนบน ให้ก้มตัวลงแตะนิ้วเท้าเป็นเวลา 5-10 วินาทีเพื่อยืดเส้น
- ผู้ที่มีอาการกล้ามเนื้อเคล็ดหรือแพลงควรงดใช้ขา ประคบด้วยน้ำแข็งเพื่อลดความดัน และวางขาไว้ในตำแหน่งที่สูงกว่าลำตัว หรือรับประทานยาแก้ปวดร่วมด้วย เช่น พาราเซตามอล หรือไอบูโพรเฟน
- กรณีกระดูกหัก ควรทำการห้ามเลือดก่อนเป็นอันดับแรก และไม่ควรเคลื่อนย้ายผู้ป่วยหรือเคลื่อนไหวบริเวณที่สงสัยว่ามีกระดูกหัก ใช้น้ำแข็งประคบบริเวณดังกล่าว พร้อมตรวจสอบว่าผู้ป่วยมีโอกาสเกิดอาการช็อคหรือไม่ แล้วจึงรีบติดต่อแพทย์
การป้องกันอาการปวดขา
- ควรยืดเส้นทั้งก่อนและหลังออกกำลังกาย และควรออกกำลังกาย 5 วันต่อสัปดาห์ ครั้งละ 30 นาที
- ควบคุมน้ำหนัก และรับประทานอาหารที่มีโปแตสเซียมสูง เช่น กล้วยและไก่
- งดสูบบุหรี่ และจำกัดปริมาณการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยผู้หญิงควรดื่มเพียง 1 ขวดต่อวัน และ 2 ขวดต่อวันสำหรับผู้ชาย
- ใช้ไม้เท้าเพื่อช่วยพยุงกรณีที่ไม่สามารถยืนหรือเดินได้ตามปกติ
- ลุกขึ้นเดินทุก ๆ 2-3 ชั่วโมง หากต้องเดินทางเป็นเวลานาน ๆ ในรถโดยสาร เครื่องบิน หรือรถไฟ เพื่อป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดดำส่วนลึกอุดตัน
- เข้ารับการตรวจและควบคุมระดับความดันโลหิตและคอเลสเตอรอลในร่างกายเสมอ
- ผู้มีโรคประจำตัวควรรับประทานยาอย่างต่อเนื่องเพื่อลดอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อน
- ผู้ที่มีอาการปวดจากเส้นประสาทไซอาติก (Sciatic Pain) ไม่ควรนอนติดเตียงเป็นเวลานานกว่า 24 ชั่วโมง เนื่องจากผู้ป่วยที่มีอาการดังกล่าวสามารถกลับมาทำกิจวัตรได้ตามปกติเมื่อจำกัดระยะเวลาการนอนพักบนเตียงให้น้อยลง
- ปรึกษาแพทย์เพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการป้องกันการเกิดอาการปวดขาที่อาจเกิดขึ้น
- หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ทำให้ปวดขา เช่น การยืน เดินหรือใส่รองเท้าส้นสูงนาน ๆ เป็นต้น
arukouthailand ผลิตภัณฑ์ซัพพอร์ตเข่า คุณสามารถปรึกษาเกี่ยวกับเข่าของคุณกับผู้เชี่ยวชาญของเราได้ฟรี