โรคปวดเข่าพบได้บ่อยในผู้ที่มีน้ำหนักมากเกินไป และในคนสูงอายุ เป็นเหตุหนึ่งที่ทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถประกอบกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันได้ตามปกติ โดยเหตุที่ข้อเข่าต้องรับน้ำหนักตัวเกือบตลอดเวลา รวมทั้งอุปนิสัยของคนไทยที่ใช้เข่าในท่าพับงอ เช่น นั่งพับเพียบ นั่งขัดสมาธิ หรือการนั่งยอง ๆ จึงเกิดความเสื่อมของกระดูกอ่อนเร็ว การชะลอความเสื่อมเป็น สิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึงและความสามารถปฏิบัติได้ หากได้รับการแนะนำในเรื่องการใช้เข่าให้ถูกต้อง การบำรุงรักษาสุขภาพ และการบริหารกล้ามเนื้อรอบข้อเข่าจะช่วยขจัดปัญหาอาการปวดเข่าเรื้อรัง และการติดยาของผู้ป่วยได้
ในปัจจุบันนี้ โรคปวดเข่า โรคข้อสะบ้าเสื่อม โรคข้อสะโพกเสื่อม โรคทั้งหลายที่เกี่ยวกับข้อนี้ เป็นโรคที่คุกคามการใช้ชีวิตประจำวันของผู้ป่วย เป็นสาเหตุอันดับต้นๆ รองลงมาจากเรื่องของปวดหลัง ของผู้ป่วยที่เข้ามารับบริการที่ ศูนย์โรคปวดหลัง รพ.ลานนา เราจึงเพิ่มศักยภาพฯ รับแพทย์ผู้ชำนาญการด้านผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม,ข้อสะโพกเทียม,ผ่าตัดเข่าผ่านกล้อง เข้ามาเสริมทีม ขยายออกมาเป็นศูนย์โรคปวดเข่า เพื่อดูแลผู้ป่วยที่มีปัญหาโรคข้อเข่าโดยเฉพาะ ขณะนี้ก็มีผู้เข้ามารับบริการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าและข้อสะโพก ผ่าตัดเข่าผ่านกล้องแบบแผลเล็กกับเราแล้วหลายราย ได้ผลเป็นที่พึงพอใจ
ส่วนสาเหตุของการเกิด โรคปวดเข่า นั้นมีได้หลายสาเหตุ ไม่ว่าจะด้วยอายุ ที่ทำให้เสื่อมตามวัย เช่นผู้หญิงในวัยหมดประจำเดือน กระดูกพรุนทำให้ทรุด หรือการใช้งานที่ผิดวิธี ทำให้เกิดการเสื่อมสภาพ เช่นการนั่งยองๆ การนั่งคุกเข่า จากน้ำหนักตัวที่มากเกินไป หรืออาจเกิดข้อถูกทำลายจากโรคต่าง ๆ เช่น โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ โรคข้ออักเสบติดแข็ง รวมถึงข้อเสื่อมที่เกิดหลังจากอุบัติเหตุ เส้นเอ็นฉีกขาด หรือกระดูกหัก ข้อเคลื่อน ข้อที่ถูกทำลายจากการติดเชื้อ
สาเหตุของโรคปวดเข่า
- น้ำหนักตัวมาก
- อายุเกิน 40 ปี
- การยืน หรือนั่งงอเข่านาน ๆ
- การมีลักษณะเข่าโก่งออกนอก หรือโค้งเข้าใน
- จากสาเหตุใดก็ตามที่ทำให้กล้ามเนื้อรอบข้อเข่าอ่อนแรง เช่น ได้รับบาดเจ็บ
- ปัจจัยส่งเสริมอื่น ๆ เช่น ขาดอาหาร หญิงวัยหมดประจำเดือน การได้รับยาฉีดเข้าข้อ
- โรคข้ออักเสบจากสาเหตุอื่น เช่น โรคเกาต์ โรครูมาตอยด์ ฯลฯ
อาการของโรคปวดเข่า
- ปวดรอบเข่า นั่งแล้วลุกลำบาก หรือปวดมากเวลาเดิน
- บวม และร้อนรอบเข่า
- เคลื่อนไหวข้อเข่าได้ไม่เต็มที่ งอ และเหยียดไม่สุด เวลาเคลื่อนไหวข้อจะมีเสียงดัง
- สภาพเข่าโก่ง หรือโค้งผิดรูปมากขึ้น
อาการเหล่านี้จะค่อยเป็นค่อยไปอย่างช้าๆ ในระยะแรกมักจะเป็นๆ หายๆ แต่เมื่อเป็นมากขึ้น ก็จะมีอาการปวดรุนแรงขึ้น และปวดตลอดเวลา การวินิจฉัยโรคข้อเข่านั้น ส่วนใหญ่จะวินิจฉัยได้จากการซักถามประวัติ และการตรวจร่างกาย โดยไม่จำเป็นต้องเอ็กซเรย์ เพราะในหัวเข่าของคนสูงอายุทั่วไปเมื่อถ่ายเอ็กซเรย์ก็จะพบว่ามีช่องว่างของข้อเข่าแคบลง และมีหินปูนจับอยู่ตามขอบของข้อได้โดยที่ไม่มีอาการผิดปกติแต่อย่างใด
arukouthailand ผลิตภัณฑ์ซัพพอร์ตเข่า คุณสามารถปรึกษาเกี่ยวกับเข่าของคุณกับผู้เชี่ยวชาญของเราได้ฟรี