สมุนไพรนั้นเป็นผลผลิตที่ได้จากธรรมชาติ ได้แก่ พืช สัตว์ และ แร่ธาตุ ที่สามารถนำมาใช้เป็นยารักษาโรคหรือบำรุงร่างกาย เช่น ใช้กิน ใช้ทา ใช้รม เป็นต้น ซึ่งอาจจะใช้ทั้งหมด เช่น ใช้ทั้งต้น หรือแค่เฉพาะบางส่วนของผลผลิตนั้นๆเพื่อปรุงเป็นยารักษาโรค เช่น เฉพาะส่วนราก โดยอาจจะต้องผ่านกระบวนการบางอย่างก่อนนำมาใช้ เช่น บด ต้ม คั้น ตากแห้ง เป็นต้น ทางเรา arukou ได้แนะนำสมุนไพรที่แก้อาการปวดเข่าโดยเฉพาะ
9 สมุนไพรแก้อาการปวดเข่า ที่หาได้ทั่วไปและทำได้ง่ายมาก
1.ขมิ้นชัน
ขมิ้นชันถือว่าเป็นสมุนไพรชั้นเลิศ ที่สามารถบรรเทาอาการปวดเข่าได้เป็นอย่างดี เนื่องจากสรรพคุณของตัวมันเอง มีฤทธิ์ต้านการอักเสบที่สูง
สารสกัดจากขมิ้นชัน ปัจจุบันได้รับการขึ้นทะเบียน จากองค์การอาหารและยา โดยถือว่าเป็นสมุนไพรตัวแรกที่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นยาแผนปัจจุบัน สามารถใช้ทดแทนยาแผนปัจจุบันตัวที่มีสรรพคุณเช่นเดียวกันได้ ซึ่งนั่นก็คือ การบรรเทาอาการปวดจากข้อเข่าเสื่อม ซึ่งมีการวิจัยและค้นพบว่า สารสกัดจากขมิ้นชัน ออกฤทธิ์ในการบรรเทาอาการปวด และยังมีผลข้างเคียงต่อร่างกายน้อยกว่าการรับประทานยาแผนปัจจุบันมากอีกด้วย
2.ขิง
กรณีที่มีอาการปวดเข่า จากโรคข้อเข่าอักเสบ และไม่ได้เกิดจากเข่าเสื่อมหรือไขข้อไม่ดี สมุนไพรพื้นบ้านของไทยที่มีนามว่า “ขิง” นี้ จะช่วยคุณได้แบบไม่น่าเชื่อเลยล่ะ
- ใช้ “ขิงแก่” น้ำหนัก 5 ขีด นำมาผสมน้ำตาลทรายแดง 1 ขีด
- ตำให้เข้ากันพอหยาบ
- นำเนื้อขิงแก่ที่ตำไว้ ห่อผ้าขาวบาง แล้วนำไปพอกบริเวณที่ปวด ใช้ผ้ามัดซ้ำอีกที หรือจะสวมสายรัดเข่าทับอีกชั้นก็ได้
- สามารถพอกทิ้งไว้ได้นานทั้งคืน เปลี่ยนวันละ 1-2 ครั้งก็เพียงพอ
สำหรับอาการปวดเข่าที่ไม่ได้หนักหนามากจนเกินไป การรับประทานน้ำขิง จะช่วยลดการอักเสบในร่างกาย ช่วยบรรเทาอาการปวด โดยทางที่ดีควรซื้อน้ำขิงที่ใส่น้ำตาลน้อย หรือต้มน้ำขิงดื่มเอง นอกจากจะแก้อาการปวดเข่าได้ดีแล้ว ยังช่วยในเรื่องของกรดไหลย้อน และทำให้ชุ่มคออีกด้วย
3. เมล็ดลำไย
ในต่างประเทศ มีงานวิจัยที่ค้นพบว่า สารประกอบโพลีฟีนอล ที่มีอยู่ในผลไม้จำพวกองุ่นและแอปเปิ้ล มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูง ช่วยยับยั้งเอนไซม์ที่สลายกระดูกอ่อน บรรเทาอาการปวดเข่าได้ดี แต่ก็ต้องบอกเลยว่า โชคดีที่เกิดมาเป็นคนไทย เพราะว่าผลไม้แสนอร่อยอย่าง “ลำไย” ที่เราทานแต่เนื้อ แล้วทิ้งเมล็ดกันมาโดยตลอดเนี่ย มีสารประกอบที่ช่วยบรรเทาอาการปวดเข่าที่สูงกว่าองุ่นหรือแอปเปิ้ลของต่างชาติเสียอีก
โดยมีงานวิจัยจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้นำสารสกัดจากเมล็ดลำไยมาวิจัย และพบว่า คลินิก สารโพลีฟีนอลทั้ง 3 ตัวที่อยู่ในเมล็ดลำไย ช่วยป้องกันการเสื่อมสลาย และช่วยยืดอายุกระดูกอ่อนได้เป็นอย่างดี
ได้มีการทดลองกับผู้ป่วยโรคไขข้ออักเสบและรูมาตอยด์ เพราะว่าโครงสร้างกระดูกอ่อนและกล้ามเนื้อของผู้ป่วย มีความแข็งแรงมากขึ้น และสามารถลดอาการปวดข้อเข่าไปได้มาก ที่น่าเหลือเชื่อมากก็คือครีมทาแก้ปวดเข่าที่มีสารสกัดเมล็ดลำไยนี้ มีประสิทธิภาพในการบรรเทาอาการปวดได้ดีเทียบเท่ากับยาไดอะเซียรีน ซึ่งเป็นยาแก้โรคข้อเข่าเสื่อมโดยเฉพาะ วิธีการทำก็ง่ายๆ ดังนี้
- นำเมล็ดลำไยสดประมาณ 20-30 เมล็ด มาโขลกให้แตก ไม่ต้องถึงกับละเอียด
- จากนั้นนำไปแช่ในเหล้าขาว ทิ้งเอาไว้เป็นเวลา 7 วัน
- ใช้เฉพาะส่วนที่เป็นน้ำนำมาทาบริเวณที่ปวดเข่า วันละ 1-2 ครั้ง
4. เพชรสังฆาต
เพชรสังฆาต เป็นสมุนไพรโบราณ มักรู้จักกันในนาม ยาบรรเทาอาการริดสีดวงทวาร แต่แท้จริงแล้วตามตำราของแพทย์แผนโบราณ เพชรสังฆาตยังมีสรรพคุณ “แก้กระดูกแตก หัก ขับลมในลำไส้” อีกด้วย หมอพื้นบ้าน มักจะใช้เถาของเพชรสังฆาต นำมาตำให้ละเอียด แล้วพอกบริเวณกระดูกที่หักหรือปวด จะช่วยลดการปวดบวม อักเสบได้
มีการนำเพชรสังฆาตมาวิจัย และพบว่าในเพชรสังฆาต มีวิตามินซีสูง ซึ่งยืนยันถึงสรรพคุณในการรักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน มีแคโรทีน ที่เป็นสารตั้งต้นของวิตามินเอ ช่วยต้านอนุมูลอิสระ อีกทั้งยังมีสารอนาบอลิคสเตียรอยด์ ที่ช่วยในการสมานกระดูก
มีการให้กลุ่มสตรีวัยทองที่มีความเสี่ยงจะเป็นโรคกระดูกพรุน รับประทานเพชรสังฆาตแคปซูล ครั้งละ 2 แคปซูลวันละ 3 ครั้งหลังอาหาร พบว่าเพชรสังฆาตช่วยในการเพิ่มมวลกระดูกและรักษาอาการกระดูกแตก ช่วยลดอาการปวดเข่า
ข้อควรระวัง
สำหรับการรับประทานแบบสด ควรซอยเพชรสังฆาตให้ละเอียด ห้ามเคี้ยว อาจจะใช้กลืนพร้อมน้ำ หรือยัดเข้าไปในกล้วยน้ำว้าสุกก็ได้ และไม่ควรรับประทานต่อเนื่องเกิน 2 สัปดาห์ สำหรับผู้ป่วยเป็นโรคไตห้ามรับประทานเด็ดขาด
5.เถาวัลย์เปรียง
เถาวัลย์เปรียง เป็นสมุนไพรแผนไทย ที่ปรากฏอยู่ในตำราแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ในหลายคัมภีร์ ใช้เป็นตำรับยา แก้เหน็บชา แก้กษัย แก้เมื่อยปวด ขับปัสสาวะ
มีงานวิชาการพบว่า เถาวัลย์เปรียง มีสรรพคุณในการช่วยอาการแก้ปวดเข่า จากเข่าเสื่อม โดยเมื่อนำไปเปรียบเทียบกับนาพร็อกเซ็น ยาไดโคลฟีแนค ที่เป็นยาต้านการอักเสบและบรรเทาอาการปวดเข่า ปวดหลังส่วนล่าง พบว่าเถาวัลย์เปรียงมีสรรพคุณในการลดการอักเสบและแก้ปวดได้ใกล้เคียงกัน
มีงานวิจัยที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ร่วมกับคณะแพทย์ศาสตร์ ศิริราชพยาบาล ศึกษาถึงสรรพคุณของเถาวัลย์เปรียง พบว่า การรับประทานเถาวัลย์เปรียงขนาด 400 mg วันละ 2 ครั้ง ต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์ ช่วยให้ผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมมีอาการปวดลดลง เทียบเท่ากับยานาโปรเซน และยังมีความปลอดภัย ไม่ระคายเคืองต่อกระเพาะอาหารไม่ต่างกันด้วย แต่ราคาถูกกว่าถึง 4-6 เท่าตัว
ข้อควรระวัง
ข้อมูลของคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล แนะนำว่า เนื่องจากสารสกัดของเถาวัลย์เปรียง มีสรรพคุณในการขยายหลอดเลือด และช่วยลดความดันโลหิต ดังนั้นจึงแนะนำว่า ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับโรคหัวใจ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทาน รวมถึงผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ที่รับประทานยาแผนปัจจุบันเพื่อควบคุมความดันอยู่แล้ว ควรปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทานเช่นเดียวกัน ส่วนในเรื่องอันตรายต่อไต ในปัจจุบันยังไม่มีรายงานว่าเถาวัลย์เปรียง มีผลเกี่ยวข้องกับระบบไตแต่อย่างใด
6. ยอ
สมุนไพรใกล้ตัว ถูกนำมาใช้ทำอาหาร หรือทำเป็นยาพอกแก้ปวด แก้เคล็ดขัดยอก ผลยอสุกนำมาใช้รับประทานได้ ลูกยอบดใช้ทาผิวหนังฆ่าเชื้อโรค ในปัจจุบันมีการนำยอมาใช้รักษาโรคต่างๆ เช่น โรคเก๊าต์ โรคความดันโลหิตสูง อาการปวดกล้ามเนื้อและข้อต่อ โรคปวดในข้อ เป็นต้น
7. งา
พืชน้ำมันบำรุงชั้นยอด งาอุดมไปด้วยสารอาหารที่สำคัญอุดมไปด้วยแคลเซียมและฟอสฟอรัส รับประทานคู่กับถั่วธัญพืชต่างๆ จะยิ่งทำให้ได้รับสารอาหารที่จำเป็นต่อความแข็งแรงของกระดูก สรรพคุณของงา ในการเป็นยาบำรุงกระดูก
8.หญ้าขัดมอน
สมุนไพรตระกูลขัด มีสรรพคุณในการแก้ขัดต่างๆ เช่น อาการปวด ขัดตามข้อ ปัสสาวะขัด ใช้ในการรักษาอาการปวดข้อ ปวดเมื่อย บำรุงเอ็น รวมถึงกล้ามเนื้อและกระดูก
9. เอ็นอ่อน
เป็นสมุนไพรหนึ่งในยา สามดูกสี่เอ็น เพื่อรักษากระดูกและเอ็น สรรพคุณที่ใช้ในการรักษากระดูกและเอ็น แก้เส้นตึง ช่วยให้คลายเส้น และยืดเส้นเอ็น
ก็จบไปแล้วน่ะครับ สำหรับบทความเกี่ยวกับสมุนไพร ทั้งนี้ทั้งนั้นทาง arukou เราก็แนะนำให้ออกกำลังกายเบาๆ ควบคู่ไปด้วยเพื่อที่จะได้ผลลัพท์ที่ดีที่สุด และใช้ผลิตภัณฑ์ถนอมเข่าของเรา คุณสามารถปรึกษาเราได้ฟรี arukouthailand.com