Posted on Leave a comment

เอ็นเข่าอักเสบ อาการที่อาจเกิดกับคุณได้ทุกเมื่อ

เอ็นเข่าอักเสบ เกิดจาก

เอ็นเข่าเป็นส่วนของเนื้อเยื่อที่ช่วยยึดกล้ามเนื้อเข้ากับกระดูก ภาวะเอ็นอักเสบนั้นมักจะเกิดจากการที่มีการบาดเจ็บซ้ำๆ ที่บริเวณดังกล่าว เอ็นกล้ามเนื้อนั้นหมายถึงเนื้อเยื่อส่วนที่ทำหน้าที่ยึดกล้ามเนื้อเข้ากับกระดูก และภาวะเอ็นอักเสบนั้นมักจะเกิดจากการได้รับบาดเจ็บซ้ำๆ เรื้อรังเช่นจากการทำท่าเดิมๆ ซ้ำๆ ซึ่งส่งผลต่อกล้ามเนื้อ ภาวะนี้มักจะเกิดที่ข้อศอก ข้อเท้า และข้อมือ

ผู้ที่ชื่นชอบการทำกิจกรรมหนักๆ เช่นการวิ่งหรือเล่นบาสเกตบอลเฉพาะในช่วงวันหยุด แต่ไม่ได้มีการเล่นต่อเนื่องมาในช่วงวันทำงานนั้นมักจะเกิดภาวะเอ็นอักเสบขึ้นที่เข่า นอกจากนั้นการมีน้ำหนักเกินเกณฑ์ก็สามารถทำให้เกิดภาวะดังกล่าวที่เข่าได้เช่นกัน ปัจจัยเสี่ยงอีกอย่างหนึ่งที่ทำให้เกิดภาวะนี้ได้ก็คืออายุที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากเอ็นจะมีความยืดหยุ่นลดลงและทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแอลงซึ่งล้วนแต่จะทำให้เอ็นกล้ามเนื้อต้องทำงานหนักขึ้น หากกล้ามเนื้อต้นขาหรือกล้ามเนื้อน่องของคุณนั้นไม่มีความยืดหยุ่น ก็จะทำให้คุณเสี่ยงต่อการเกิดภาวะนี้ได้เช่นกัน

เอ็นเข่าอักสับ

อาการของเอ็นเข่าอักเสบ

เอ็นกล้ามเนื้อในบริเวณใด ๆ ของร่างกายล้วนแต่เกิดการอักเสบขึ้นได้ทั้งนั้น แต่บริเวณที่เป็นบ่อยคือ หัวไหล่ ข้อศอก ข้อมือ ข้อเข่า และข้อเท้า ซึ่งจะส่งผลให้บริเวณดังกล่าวมีอาการ ดังนี้

  • รู้สึกปวดตื้อ ๆ บ่อยครั้ง โดยเฉพาะเมื่อมีการเคลื่อนไหวที่ใช้แขนขาหรือข้อต่อนั้น ๆ
  • ใช้การเคลื่อนไหวเอ็นกล้ามเนื้อได้ลำบาก
  • มีอาการฟกช้ำ
  • มีอาการบวม บางครั้งอาจรู้สึกอุ่น ๆ หรือมีอาการแดงร่วมด้วย
  • มีก้อนบวมนูนตามเอ็นกล้ามเนื้อนั้น ๆ

อาการของเอ็นอักเสบส่วนใหญ่มักดีขึ้นเองภายใน 2-3 วัน ด้วยการพักและดูแลรักษาตนเอง แต่หากพบว่ายังคงมีอาการรุนแรง ต่อเนื่อง กระทบต่อการทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันเป็นเวลานานกว่า 2-3 วัน หรือคิดว่าเอ็นกล้ามเนื้ออาจฉีกขาด ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจรักษา

สาเหตุของเอ็นเข่าอักเสบ

เอ็นอักเสบอาจเกิดขึ้นเมื่อได้รับบาดเจ็บอย่างฉับพลัน หรือเกิดจากการเคลื่อนไหวเอ็นกล้ามเนื้อบริเวณหนึ่ง ๆ ซ้ำ ๆ เป็นเวลานาน โดยมากมักเกิดจากสาเหตุข้อหลัง โดยเฉพาะการทำอาชีพหรืองานอดิเรกที่ต้องมีการเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อเอ็นซ้ำ ๆ ซึ่งทำให้เอ็นบริเวณที่ถูกใช้งานตึงขึ้นเรื่อย ๆ หรือกิจกรรมกีฬาที่ต้องใช้การเคลื่อนไหวบริเวณเดิมบ่อย ๆ เช่น เทนนิส กอล์ฟ ว่ายน้ำ จึงควรมีเทคนิคที่เหมาะสมเพื่อป้องกันการใช้งานกล้ามเนื้อเอ็นมากจนเกินไป

ผู้ที่อยู่ในภาวะต่อไปนี้อาจเสี่ยงต่อการเกิดเอ็นกล้ามเนื้ออักเสบได้มากกว่าปกติ

  • ผู้ที่มีอายุมากจะยิ่งมีโอกาสเกิดภาวะเอ็นอักเสบมากขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากเอ็นกล้ามเริ่มมีความยืดหยุ่นน้อยลง
  • ผู้ประกอบอาชีพที่ต้องใช้การเคลื่อนไหวบางส่วนของร่างกายบ่อยครั้ง มีการเคลื่อนไหวผิดท่า เอื้อมยกของ ต้องออกแรงแกว่งหรือแรงเหวี่ยง หรืองานที่ต้องลงแรงมาก
  • การเล่นกีฬาบางชนิดที่เอ็นกล้ามเนื้อต้องทำงานซ้ำ ๆ เช่น บาสเก็ตบอล กอล์ฟ โบว์ลิ่ง ว่ายน้ำ เทนนิส และวิ่ง

การรักษาเส้นเอ็นเข่าอักเสบ

การรักษาภาวะเอ็นอักเสบในเบื้องต้นทำได้ด้วยการหยุดพักกิจกรรมที่ต้องใช้การเคลื่อนไหวของเอ็นบริเวณที่อักเสบจนกว่าจะหายดี รวมถึงการดูแลรักษาด้วยตนเองซึ่งทำได้ดังนี้

  • ประคบเย็นด้วยผ้าห่อน้ำแข็งบริเวณที่อักเสบนาน 20 นาที ทำซ้ำทุก ๆ 2-3 ชั่วโมง
  • ใช้ผ้าพันแผลพันรอบ ๆ เพื่อรองรับข้อต่อและเอ็นกล้ามเนื้อบริเวณนั้น ๆ
  • พยายามยกส่วนของร่างกายที่มีอาการให้อยู่ในระดับสูง โดยใช้หมอนหนุนไว้เมื่อนั่งหรือนอนลง
  • ป้องกันการบวมของบริเวณที่อักเสบในช่วง 2-3 วันแรกด้วยการหลีกเลี่ยงความร้อน เช่น น้ำอุ่น หรือถุงน้ำร้อน รวมทั้งการดื่มแอลกอฮอล์และการนวดบริเวณดังกล่าว
  • เมื่อเริ่มเคลื่อนไหวเอ็นกล้ามเนื้อได้โดยไม่รู้สึกเจ็บ ให้พยายามออกการเคลื่อนไหวบ่อย ๆ ป้องกันการฝืดติดของเอ็นที่เกิดขึ้นจากการไม่ได้เคลื่อนไหว
  • อาจรับประทานยาหรือทาเจลบรรเทาการอักเสบที่หาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป

ทั้งนี้ หากอาการยังไม่ดีขึ้นภายใน 2-3 วัน หรือยังคงมีอาการรุนแรงอย่างต่อเนื่อง ผู้ป่วยควรรับการตรวจรักษาโดยแพทย์ ซึ่งวิธีการรักษาที่อาจนำมาใช้ มีดังต่อไปนี้

  • การรักษาด้วยยา แพทย์จะจ่ายยาเกี่ยวกับรักษาเอ็นเข่าให้ผู้ป่วย
  • การทำกายภาพบำบัด เป็นวิธีบำบัดรักษาโดยใช้การออกกำลังกาย เพื่อช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นและความแข็งแรงของเอ็นกล้ามเนื้อที่อักเสบ รวมถึงกล้ามเนื้อบริเวณรอบ ๆ เช่น การเพิ่มความต้านทานของกล้ามเนื้อที่เน้นการเกร็งตัวในขณะที่มีการยืดตัว ซึ่งพิสูจน์แล้วว่ามีประสิทธิภาพในการรักษาการอักเสบเรื้อรังของเอ็นกล้ามเนื้อ
  • การผ่าตัด กรณีที่ภาวะเอ็นอักเสบมีอาการรุนแรงและนำไปสู่การฉีกขาดของเอ็น อาจต้องรักษาด้วยการผ่าตัด โดยเฉพาะผู้ป่วยที่เอ็นกล้ามเนื้อฉีกขาดออกจากกระดูก

วิธีที่อื่นๆ ที่ช่วยรักษาเอ็นเข่าอักเสบ

  • จำกัดกิจกรรมที่ทำที่จะเพิ่มความเครียดต่อหัวเข่า
  • ประคบเย็น
  • ใช้ยาแก้ปวดเช่นยาแก้ปวดกลุ่มที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ เช่น ibuprofen หรือ naproxen
  • ใส่สนับพยังเข่า

เมื่ออาการปวดและบวมลดลงแล้ว ค่อยๆ เริ่มกลับไปใช้ชีวิตประจำวันตามปกติอย่างช้าๆ และหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่หนักในช่วงสัปดาห์แรกๆ โดยมากภาวะนี้มักจะหายภายในระยะเวลาหลายสัปดาห์จนถึงหลายเดือน และแพทย์อาจให้คำแนะนำในการรักษาเพิ่มเติมหากยังคงมีอาการอยู่


arukouthailand ผลิตภัณฑ์ซัพพอร์ตเข่า คุณสามารถปรึกษาเกี่ยวกับเข่าของคุณกับผู้เชี่ยวชาญของเราได้ฟรี