ภาวะข้อเสื่อม เป็นภาวะที่ข้อต่อของร่างกายที่เป็นกระดูกอ่อนมีการเสื่อมสภาพลง พื้นที่ระหว่างข้อต่อแคบลง และเริ่มมีการเกาะของแคลเซียมในกระดูกบนผิวข้อมากชึ้น ทำให้สูญเสียความสามารถในการใช้งานไป โดยทั่วไปเราสามารถพบอาการข้อเสื่อมได้ในทุกข้อต่อแต่ที่พบบ่อยคือ บริเวณหลังส่วนล่าง บริเวณคอ และ บริเวณเข่า และบริเวณกระดูกสันหลังในผู้สูงอายุ การเกิดภาวะข้อเสื่อมส่งผลต่อการเคลื่อนไหว ทำให้เคลื่อนไหวได้ช้าลง ติดขัดและสามารถนำไปสู่สาเหตุของการอักเสบในข้อต่อ และความพิการได้
สาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะปวดเข่าในผู้สูงอายุ
นั้นมีหลายปัจจัย แต่ที่พบบ่อยคือ เกิดจากแรงกระทำบนข้อมากเกินไป (มีการศึกษาในมนุษย์ พบว่าการออกกำลังกายในรูปแบบที่มีแรงกระทำต่อข้อมาก ร่วมกับการขาดการพักอย่างเหมาะสม การยืดเหยียดก่อน–หลังออกกำลังกายที่ไม่พอเหมาะ และการฝึกในระยะกล้ามเนื้อที่ล้าอยู่แล้ว ทำให้เกิดการฟื้นตัวของเนื้อเยื่อข้อต่อได้ไม่ดี) อย่างไรก็ตามการเกิดภาวะข้อเสื่อมอาจเกิดขึ้นได้ในข้อต่อที่ไม่ได้ลงน้ำหนัก เช่น ข้อมือข้อไหล่ ได้เช่นกัน อันเนื่องมาจากสาเหตุอื่น เช่น ภาวะข้อหลวม การอักเสบบริเวณข้อต่อ การไหลเวียนออกซิเจนที่ไม่เพียงพอบริเวณข้อต่อ และความผิดปกติทางพันธุกรรมอื่น ๆ ที่ทำให้เกิดการสร้างโปรตีนคอลลาเจนที่ผิดปกติ ส่งผลให้กระดูกอ่อนมีความผิดปกติ เป็นต้น
อาการเริ่มแรกที่เตือนให้รู้ว่าเข่ากำลังมีปัญหา
- เจ็บปวด เป็นอาการที่พบบ่อยที่สุด อาจเป็นปวดแบบเมื่อยๆ พอทน ปวดแบบเป็นๆ หายๆ หรือในรายที่เข่าได้รับบาดเจ็บ จะปวดแบบเฉียบพลันและปวดรุนแรง
- เข่าบวม เข่าที่บวมทันทีภายหลังจากได้รับบาดเจ็บ มักเกิดจากมีเลือดออกภายในข้อเข่า บวมที่เกิดขึ้นช้าๆ มักเกิดจากมีความผิดปกติขององค์ประกอบภายในข้อเอง
- เข่าอ่อนหรือเข่าสะดุดติด อาจเกิดจากสาเหตุหลายประการ แต่ที่พบบ่อยคือ เกิดจากมีบางสิ่งบางอย่างภายในข้อ ทำให้งอ หรือเหยียดเข่าในทันทีทันใดไม่ได้ เช่น เส้นเอ็นหรือกระดูกอ่อนที่ฉีกขาด หรือเศษกระดูกที่หยุดอยู่ในข้อ
- เข่าฝืดหรือยึดติด อาจเป็นเฉพาะบางช่วงเวลาของวัน เช่น ตอนเช้าหลังตื่นนอน นั่งนานๆ แล้วลุกขึ้น หรือเกิดขึ้นภายหลังจากได้รับบาดเจ็บที่ข้อเข่า
เมื่อปรากฎอาการดังกล่าวแล้วแสดงว่า ท่านเริ่มมีปัญหาของข้อเข่า ควรให้ความสนใจอย่างจริงจัง และพิจารณาดูว่า มีอะไรเป็นสาเหตุดังกล่าว จะเป็นต้องเริ่มต้นฝึกออกำลังกล้ามเนื้อของข้อเข่าให้แข็งแรงขึ้น ซึ่งเป็นวิธีเดียวที่จะให้หลักประกันได้ว่า ท่านจะสามารถยืนและเดินอยู่บนขา และเข่าของตนเองได้ตลอดไป
สาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะปวดเข่าในผู้สูงอายุ
นั้นมีหลายปัจจัย แต่ที่พบบ่อยคือ เกิดจากแรงกระทำบนข้อมากเกินไป (มีการศึกษาในมนุษย์ พบว่าการออกกำลังกายในรูปแบบที่มีแรงกระทำต่อข้อมาก ร่วมกับการขาดการพักอย่างเหมาะสม การยืดเหยียดก่อน–หลังออกกำลังกายที่ไม่พอเหมาะ และการฝึกในระยะกล้ามเนื้อที่ล้าอยู่แล้ว ทำให้เกิดการฟื้นตัวของเนื้อเยื่อข้อต่อได้ไม่ดี) อย่างไรก็ตามการเกิดภาวะข้อเสื่อมอาจเกิดขึ้นได้ในข้อต่อที่ไม่ได้ลงน้ำหนัก เช่น ข้อมือข้อไหล่ ได้เช่นกัน อันเนื่องมาจากสาเหตุอื่น เช่น ภาวะข้อหลวม การอักเสบบริเวณข้อต่อ การไหลเวียนออกซิเจนที่ไม่เพียงพอบริเวณข้อต่อ และความผิดปกติทางพันธุกรรมอื่น ๆ ที่ทำให้เกิดการสร้างโปรตีนคอลลาเจนที่ผิดปกติ ส่งผลให้กระดูกอ่อนมีความผิดปกติ เป็นต้น
ผลกระทบของภาวะปวดเข่าในผู้สูงอายุ
ที่สำคัญที่สุดคือจะเกิดอาการปวดบริเวณข้อต่อโดยอาการปวดจะค่อย ๆ เริ่มจาก น้อยไปมาก และปวดมากขึ้นเมื่อน้ำหนักมากขึ้นและเมื่อยกข้างที่มีปัญหา แต่อาการจะทุเลาลงเมื่อหยุดพัก เมื่อภาวะโรคดำเนินไปมากขึ้น ผู้สูงอายุอาจะปวดได้ทั้งเวลาพักและทำงาน โดยอาการจะยิ่งมากขึ้นถ้าอากาศหนาว อาการปวดสามารถพัฒนาเชื่อมโยงไปยังบริเวณอื่น ๆ ได้ เช่น ถ้าเป็นข้อเข่าเสื่อม อาจจะพบจุดกดเจ็บบริเวณกล้ามเนื้อต้นขาด้านหน้า ซึ่งอาจแสดงว่ากล้ามเนื้อต้องทำงานมากขึ้นเพื่อพยุงตัวผู้สูงอายุเอง
วิธีป้องกันและการปฏิบัติ
- ควบคุมไม่ให้อ้วนเกินไป โดยการควบคุมอาหารและออกกำลังกาย
- บริหารกล้ามเนื้อรอบๆ ข้อนั้นให้แข็งแรง (วิธีการบริหารดูในการออกกำลังกาย)
- ลดการใช้งานข้อนั้นในท่าที่ผิดจากธรรมชาติ เช่น การนั่งยองๆ การนั่งพับเพียบ คุกเข่าและการนั่งขัดสมาธินานเกินไป เป็นต้น
- ขณะที่มีอาการปวด ควรรีบปรึกษาแพทย์ เพื่อให้การรักษาภาวะอักเสบของข้อ แล้วเริ่มทำกายภาพบำบัดเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้
arukouthailand ผลิตภัณฑ์ซัพพอร์ตเข่า คุณสามารถปรึกษาเกี่ยวกับเข่าของคุณกับผู้เชี่ยวชาญของเราได้ฟรี