อาการปวดข้อสามารถมีผลต่อบริเวณต่างๆ มากมายของร่างกาย เช่น นิ้วมือ ข้อมือ นิ้วเท้า หรือเข่า และมักจะมีอาการขยับข้อได้ไม่เต็มที่ (ฝืดข้อ) กดเจ็บ และบวม อาการปวดข้อ ข้ออักเสบ หรือข้อเสื่อม (ข้ออักเสบชนิดที่พบบ่อยที่สุด) อาจจะมีอาการอักเสบของข้อใดข้อหนึ่งหรือมากกว่าร่วมอยู่ด้วย และเกิดขึ้นในรูปแบบที่แตกต่างกัน
ยกตัวอย่างเช่น ในโรคข้อเสื่อม กระดูกอ่อน (เนื้อเยื่อลักษณะเหมือนฟองน้ำที่หุ้มข้อ) ถูกทำลาย และความสามารถในการซ่อมแซมตัวเองลดลง ทำให้กระดูกอ่อนที่หุ้มข้อนั้นสึกและบางลงตามกาลเวลา การเสียดสีของกระดูกที่ถูกเปิดออกทำให้เกิดอาการอักเสบ อาการปวด และกระดูกจะงอกเข้าไปในข้อ ทำให้ข้อฝืด และเคลื่อนไหวลำบาก
ประเภทของข้อต่อที่มักจะได้รับผลกระทบจากอาการปวด คือ ข้อต่อบริเวณกระดูกก้นกบกับกระดูกเชิงกราน เข่า สะโพก และหัวไหล่ ข้อต่อกระดูกสันหลังกับกระดูกเชิงกราน จะอยู่ตรงบริเวณระหว่างกระดูกกระเบนเหน็บ และกระดูกเชิงกราน จะอยู่ต่ำกว่ากระดูกสันหลังส่วนเอว และอยู่เหนือกระดูกก้นกบ ซึ่งรองรับน้ำหนัก ของร่างกายส่วนบนทั้งหมดไปยังเชิงกราน สะโพก และขา อาการปวดข้อสะโพกสามารถเกิดขึ้นอย่างกระทันหัน และสั้น (เฉียบพลัน) หรือเรื่อยๆ และยาวนาน (เรื้อรัง) อาการปวดข้อไหล่ค่อนข้างที่จะรุนแรงน้อยกว่า (ปวดจี๊ดน้อยกว่า) และเป็นการปวดจากอาการอักเสบ หรืออาการเจ็บของกล้ามเนื้อ และเส้นเอ็นบริเวณหัวไหล่ และความตึงของกล้ามเนื้อระหว่างคอ และไหล่ ในบรรดาข้อต่อทั้งหมด ข้อเข่าน่าจะเป็นข้อที่พบว่าสึกหรอบ่อยที่สุด และมีอาการปวดได้ง่ายที่สุด
สาเหตุหรือปัจจัยที่ทำให้ปวดข้อเข่า
สาเหตุที่พบบ่อยของอาการปวดข้ออาจเกิดจาก ข้อเสื่อม แพลง หรือร้าวจากการได้รับบาดเจ็บ หรืออุบัติเหตุ ปัจจัยเสี่ยงที่เพิ่มโอกาสให้เกิดอาการปวดข้อได้แก่ ข้อต่อที่สึกหรอ (เสียหาย / แตกหัก) มาจากการบาดเจ็บ หรือจากการผ่าตัด ความบกพร่องทางพันธุกรรม โครงสร้างทางกายวิภาคของข้อต่อที่ได้รับผลกระทบ และโรคอ้วน เนื่องจากข้อต่อต้องแบกรับแรงกระแทกจากน้ำหนักส่วนเกิน
- อายุที่มากขึ้น
- น้ำหนักตัวมาก เช่น เป็นโรคอ้วน
- การใช้งานข้อเข่าที่มาก และเกิดอาการเจ็บเข่า
- ประวัติเคยประสบอุบัติเหตุบริเวณข้อเข่าอย่างรุนแรง เช่น กระดูกหักเข้าข้อ เอ็นข้อเข่าฉีกขาด แหวนรองข้อฉีดขาด
- ประวัติเคยติดเชื้อในข้อเข่า
- โรคข้ออักเสบเรื้อรัง เช่น รูมาตอยด์ หรือ เกาต์
- เพศ จากการศึกษาพบว่าเพศหญิงมีความเสี่ยงเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมมากกว่าเพศชาย
- พันธุกรรม พบว่าผู้ที่มีพ่อ แม่ หรือญาติพี่น้อง เป็นข้อเข่าเสื่อม มีความเสี่ยงเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมมากขึ้น มักจะมีลักษณะที่มีความเสื่อมของข้อทั่วตัวเช่น มือ นิ้ว กระดูกสันหลัง เข่า เป็นต้น
ข้อต่ออาจจะกลายเป็นตะปุ่มตะป่ำบริเวณรอบๆ กระดูก ก่อตัวขึ้นเป็นปุ่มกระดูกที่เรียกว่า osteophytes (กระดูกงอก)เมื่อกระดูกหนาขึ้น และขยายมากขึ้น ข้อต่อจะมีอาการฝืด เจ็บปวด และขยับลำบาก นอกจากนี้ยังอาจเกิดการสะสมของของเหลวในข้อต่อเนื่องจากการอักเสบ ซึ่งอาจจะทำให้เกิดอาการบวม ระดับของอาการปวดข้ออาจจะแตกต่างกันไปได้ตั้งแต่ ไม่บ่อยนัก ถึงขั้นรุนแรงและยากที่จะจัดการ
อาการยังสามารถรวมถึงความรู้สึกชาเฉียบพลัน หรือปวดเสียวคล้ายเข็มทิ่ม (ยิบๆ ซ่าๆ) เป็นไข้ เคลื่อนไหวได้น้อยลง และอาการฝืดในข้อที่ได้รับผลกระทบ อาการอื่นๆ ของอาการปวดข้ออาจจะเป็นอาการข้อติด และขาดความลื่น คือการที่ข้อติดอยู่ในตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่ง หรือคุณรู้สึกว่ามีอะไรติดอยู่ในข้อขณะที่กำลังทำท่าบางท่าอยู่
ปวดข้อเข่าทำให้เกิดเข่าเสื่อมได้ และสามารถเกิดได้กับคนอายุน้อย
ข้อเข่าเสื่อมในคนอายุน้อยกว่า 50 ปี และอาการเจ็บเข่า สามารถเกิดได้ โดยมีสาเหตุส่วนใหญ่จากอุบัติเหตุรุนแรงบริเวณข้อเข่ามาก่อนส่งผลให้แนวแกนรับน้ำหนักข้อเข่าผิดปกติไป มีกระดูกอ่อนข้อเข่าบาดเจ็บ และเกิดอาการ เจ็บเข่า มีโรคข้ออักเสบเรื้อรัง เช่น รูมาตอยด์ ทำให้ผิวกระดูกอ่อนถูกทำลายตั้งแต่อายุน้อย หรือเป็นโรคกระดูกตายบริเวณข้อเข่า (osteonecrosis) ซึ่งส่งผลต่อมาทำให้ข้อเข่าเสื่อมได้ตั้งแต่อายุน้อย
arukouthailand ผลิตภัณฑ์ซัพพอร์ตเข่า คุณสามารถปรึกษาเกี่ยวกับเข่าของคุณกับผู้เชี่ยวชาญของเราได้ฟรี