Posted on Leave a comment

“รักษาอาการปวดเข่า” ด้วยวิธีต่างๆ ที่ควรรู้

รักษาอาการปวดเข่า

การเกิดโรคเกี่ยวกับข้อเข่าต่างๆ เป็นกระบวนการเสื่อมของกระดูกอ่อนตรงบริเวณผิวข้อ ส่วนใหญ่มักเกิดที่บริเวณข้อเข่า ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวดมากที่ข้อเข่า ส่วนใหญ่มักปวดมากเวลาเดิน เดินขึ้นบันได ถ้าเป็นมากจะมีการโก่งของข้อเข่าร่วมด้วย การป้องกันคือการชะลอไม่ให้ข้อเข่าเสื่อมได้เร็วขึ้นซึ่งก็คือการปรับ เปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ข้อเข่าดังต่อไปนี้

  1. หลีกเลี่ยงท่าทางที่ต้องงอเข่ามากกว่า 90 องศา เช่น การนั่งคุกเข่า การนั่งขัดสมาธิ การนั่งพับเพียบ เพราะการที่งอเข่ามากๆนั้นจะทำให้เพิ่มแรงที่กระทำต่อกระดูกอ่อนที่ผิวข้อ และในกรณีที่เป็นข้อเข่าเสื่อมแล้ว กระดูกที่งอกอยู่รอบๆข้อจะไปกดเบียดเส้นเอ็น และเนื้อเยื่ออ่อนที่อยู่รอบๆข้อทำให้มีอาการปวดเพิ่มมากขึ้น
  2. หลีกเลี่ยงการยกของหนัก เพราะการยกของหนักจะไปเพิ่มแรงกระทำต่อบริเวณข้อเข่า ในวัยกลางคนที่อายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไปที่ยังออกกำลังหนักๆเช่น การเล่นกีฬาที่มีการกระแทกเช่น ฟุตบอล บาสเก็ตบอล มีโอกาสที่จะเกิดการบาดเจ็บของข้อเข่าค่อนข้างสูง และการวิ่งหรือเล่นกีฬาหนักๆ ก็เพิ่มแรงกระทำที่ข้อเข่าซึ่งจะทำให้ข้อเข่าเสื่อมได้ไวขึ้น ดังนั้นควรเปลี่ยนประเภทของกีฬาเป็นประเภทที่ไม่มีแรงกระแทกต่อข้อเข่า เช่น  cross trainer ซึ่งเป็นการฝึกการเคลื่อนไหวของข้อเข่าและบริหารกล้ามเนื้อรอบๆเข่า ซึ่งดีกว่าการใช่ลู่วิ่ง
  3. การบริหารกล้ามเนื้อรอบๆข้อเข่าโดยเฉพาะกล้ามเนื้อหน้าขาจะช่วยพยุงข้อเข่าให้มีความมั่นคงมากยิ่งขึ้น 
  4. ถ้าเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมน้อยๆ ยังไม่มีการผิดรูปมากนัก การใช้ยากลุ่ม glucosamine ก็จะมีประโยชน์และชะลอการเสื่อมของข้อได้ในระยะยาว และยากลุ่มนี้ก็ไม่มีผลเสียและไม่มีอันตรายต่อร่างกาย

โรคข้อเข่าต่างๆ เป็นโรคของผู้สูงอายุ หากเป็นแล้วจะไม่สามารถรักษาให้เหมือนเดิมได้ ดังนั้นการรักษาข้อเข่าเสื่อมจึงมีวัตถุประสงค์เพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวด ป้องกันข้อติด ข้อโก่งงอ เป็นต้น การรักษาแบ่งออกเป็น 3 วิธี

  1. การรักษาทั่วไป
  2. การรักษาโดยการให้ยารับประทาน
  3. การรักษาโดยการผ่าตัด

การรักษาอาการปวดเข่าทั่วไป

  1. ปฏิบัติตัวเพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดเข่าเสื่อม เช่นการยกของหนัก การนั่งพับเพียบ การนั่งยองๆ การนั่งสมาธิเป็นเวลานานๆ การใช้ส้วมชนิดนั่งยองๆ การนอนกับพื้นเป็นประจำ เพราะขณะลุกขึ้นหรือลงนอนจะเกิดอันตรายกับลเข่า หลีกเลี่ยงการขึ้นบันไดบ่อยๆ ควรนั่งเก้าอี้ไม่ควรนั่งบนพื้น
  2. การลดน้ำหนัก ซึ่งเป็นปัจจัยที่ลดอาการปวดเข่า และช่วยชะลอเข่าเส่อมได้
  3. การออกกำลังและการบริหารกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะกล้ามเนื้อต้นขาจะทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรง จะช่วยลดแรงที่กระทำต่อเข่า วิธีการบริหารทำได้โดยการยืน มือเกาะกับพนักเก้าอี้ ย่อตัวลงให้เข่างอเล็กน้อย นับ 3-6 แล้วยืนท่าตรง ทำซ้ำ 3-6 ครั้ง หรืออาจจะทำโดยนั่งเก้าอี้ เหยียดเท้าข้างหนึ่งและเกร็งไว้ 10 วินาที แล้วจึงงอเข่า ทำซ้ำหลายๆครั้ง นอกจากนั้นการเดินเร็วๆ หรือการว่ายน้ำจะช่วยกระตุ้นทำให้กระดูกแข็งแรง
  4. เวลาเดินหรือวิ่งให้ใส่รองเท้าสำหรับเดินหรือวิ่งซึ่งจะรองด้วยพื้นกันกระแทก
  5. ให้พักเข่าหากมีอาการปวดเข่า
  6. ใช้ไม้เท้าค้ำเวลาจะลุก อย่าหยุดใช้งานเพราะจะทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง
  7. เวลาขึ้นบันไดให้ใช้ข้อที่ดีก้าวนำขึ้นไปก่อน เวลาลงให้ก้าวเท้าข้างที่ปวดลงก่อน มือจับราวบันไดทุกครั้ง
  8. ประคบอุ่นเวลาปวด
  9. ทำกายภาพบำบัด แพทย์จะแนะนำวิธีบริหารกล้ามเนื้อ และข้อเข่าเพื่อลดอาการปวด ป้องกันข้อติด ป้องกันข้อผิดรูป รวมทั้งทำให้กล้ามเนื้อ และกระดูกแข็งแรง ที่สำคัญต้องปฏิบัติเป็นประจำจึงจะได้ผลดี

รักษาอาการปวดเข่าด้วยการบริหารกล้ามเนื้อ

การพักกล้ามเนื้อเป็นวิธีที่ดีสำหรับการรักษาข้อเข่าเสื่อม แต่ต้องมีการออกกำลัง หรือบริหารข้อเข่าอย่างเหมาะสม การออกกำลังกายจะช่วยให้กล้ามเนื้อ และกระดูกแข็งแรง ป้องกันข้อติด การเคลื่อนไหวของข้อดีขึ้น การบริหารมีให้เลือกหลายท่า

  1. นั่งบนเก้าอี้ให้นั่งห้อยเท้าไว้ ผูกน้ำหนักที่ข้อเท้าประมาณ 2-5 กิโลกรัมไว้ที่ข้อเท้าทั้ง2 ข้าง ยกขึ้นลงให้ทำวันละ 1-3 ครั้ง ครั้งละ 5-15 นาที
  2. นั่งพักบนเก้าอี้ พักเท้าข้างหนึ่งบนพื้น อีกข้างหนึ่งพักบนเก้าอี้ กดเท้าที่พักบนเก้าอี้นาน 5-10 วินาที แล้วพัก 1 นาที ทำซ้ำ 10 ครั้งให้ทำวันละ 3 ครั้ง
  3. นอนหงาย หรือนั่ง หาหมอนรองข้อเท้าข้างหนึ่ง กดเข่าของเท้าที่มีหมอนรอง ให้เข่าติดพื้นให้นับ 5-10 วินาที ทำวันละ 3 เวลาทำสลับข้าง
  4. นั่งบนเก้าอี้ นำผ้าวางไว้ใต้ฝ่าเท้าข้างหนึ่งแล้วดึงขึ้นในขณะที่เท้าถีบลง ให้เท้าสูงจากพื้น 4-5 นิ้ว ดึงไว้ 5-10 วินาทีพัก 1 นาทีทำซ้ำ 3 เวลา
  5. ให้นั่งบนเก้าอี้ หลังพิงพนัก ยกเท้าขึ้นมา และเกร็งกล้ามเนื้อต้นขาโดยการกระดกข้อเท้า ให้นับ 5-10 วินาที ทำข้างละ 10 ครั้งทำวันละ 3 เวลา หากแข็งแรงให้ถ่วงน้ำหนักที่ข้อเท้า
  6. ให้นอนหงาย ยกเท้าข้างหนึ่งงอตั้งไว้ อีกข้างหนึ่งยกสูงจากพื้น 1 ฟุตเกร็งกล้ามเนื้อไว้ นับ 1-10 สลับข้างทำ ให้ทำซ้ำหลายๆครั้ง ให้ทำวันละ 3 เวลา
  7. ให้ยืนหลังพิงกำแพง ให้เคลื่อนตัวลงจนเข่างอ 30 องศา แล้วยืนขึ้นทำ 5-10 ครั้ง วันละ 3 เวลา

รักษาอาการปวดเข่าโดยการใช้ยา

หากการรักษาทั่วไปไม่สามารถลดอาการปวดเข่า จำเป็นต้องใช้ยาในการรักษา ซึ่งมียาหลายชนิดให้เลือกดังนี้

  1. ยาแก้ปวด เป็นยาที่ลดอาการปวด แต่ไม่ได้แก้อักเสบ พอหมดฤทธิ์ยาก็ปวดอีก เช่นยาพารา
  2. ยาแก้อักเสบ steroid ใช้กันมากทั้งชนิดฉีดและรับประทาน เนื่องจากมีผลข้างเคียงจึงไม่แนะนำให้ใช้
  3. ยาแก้อักเสบที่ไม่ใช่ steroid ยากลุ่มนี้นิยมใช้กันมากขึ้นแต่ต้องระวังการเกิดโรคแทรกซ้อน เช่น ความดันโลหิต โรคหัวใจ โรคกระเพาะอาหาร
  4. ยาบำรุงกระดูกอ่อน ได้ผลช้า ค่าใช้จ่ายสูงจึงไม่เป็นที่นิยม
  5. การใช้น้ำหล่อเลี้ยงข้อชนิดเทียม

เนื่องจากโรคข้อเสื่อมจะมีน้ำหล่อเลี้ยงข้อน้อย ทำให้มีการเสียดสีของข้อ จึงมีการฉีดน้ำหล่อเลี้ยงข้อเทียมเข้าไปในเข่า 3-5 ครั้ง แต่ละครั้งห่างกัน 1 สัปดาห์ซึ่งจะลดการเสียดสีของข้อ ลดอาการปวด แต่การฉีดใช้ได้เฉพาะข้อที่เสื่อมไม่มาก

รักษาอาการปวดเข่าด้วยการการผ่าตัด

ปัจจุบันได้รับความนิยมมากขึ้น เนื่องจากได้รับผลดี โรคแทรกซ้อนไม่มาก วิธีการผ่าตัดก็มีได้หลายวิธีดังนี้

  1. การผ่าตัดโดยการส่องกล้อง (arthroscope) เหมาะสำหรับข้อที่เสื่อมไม่มาก แพทย์จะเอาสิ่งสกปรที่เกิดจากการสึกออกมาเ
  2. การผ่าตัดแก้ความโก่งงอของเข่า วิธีนี้ต้องตัดกระดูกบางส่วนออก ทำให้ต้องใช้เวลานานกว่าจะใช้งานได้ ปัจจุบันนิยมลดลง
  3. การผ่าตัดใส่ข้อเทียม คือการใส่ข้อเข่าเทียมแทนข้อที่เสื่อม ซึ่งผลการผ่าตัดทำให้หายปวด ผู้ป่วยใช้ชีวิตได้ดีขึ้น

arukouthailand ผลิตภัณฑ์ซัพพอร์ตเข่า คุณสามารถปรึกษาเกี่ยวกับเข่าของคุณกับผู้เชี่ยวชาญของเราได้ฟรี