“การกายภาพเข่า” ปัญหาปวดข้อเข่า ทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถทำกิจกรรมต่างๆในชีวิตประจำวันได้ตามปกติ เป็นปัญหาที่พบมากเป็นอันดับต้นๆ ที่นำพาผู้ป่วยมาพบแพทย์ หรือนักกายภาพบำบัด ซึ่งอาการปวดเข่านั้นมีหลายสาเหตุ เช่น การอักเสบของเอ็นหน้าเข่า, เอ็นกระดูก, กล้ามเนื้อ และเยื่อหุ้มข้อ หรือ อาการของข้อเข่าเสื่อม หากมีการอักเสบเกิดขึ้นกับโครงสร้างดังที่กล่าวมา จะมีอาการที่ทำให้เราเห็นได้ชัดเจน คือ มีการบวมแดง อุณหภูมิบริเวณนั้นๆ จะอุ่นขึ้น มีอาการเจ็บปวด ไม่สามารถลงน้ำหนักได้เต็มที่
โดยอาการของข้อเข่าเสื่อม แบ่งออกเป็น 4 ระยะ
- ระยะแรก จะเริ่มมีอาการตึงขัดข้อเข่า เมื่อมีการเปลี่ยนท่าทางหรือตื่นนอนตอนเช้า แต่ต้องสังเกตให้ดีนะคะว่าระยะเวลาของการตึงขัด จะต้องไม่เกิน 30 นาที หากมากกว่า 30 นาที ให้สงสัยว่าอาจจะเป็นโรครูมาทอยด์ได้
- ระยะที่ 2 กระดูกอ่อนเริ่มมีการสึก และหนาตัวขึ้น เกิดกระดูกงอกเล็กน้อย เริ่มมีเสียงครืดคราดเกิดขึ้นในข้อเข่า จากการเสียดสีของกระดูกที่งอกเพิ่มขึ้น จะมีอาการตึงขัดมากขึ้น เริ่มมีอาการเจ็บปวดได้
- ระยะที่ 3 บริเวณกระดูกอ่อนมีการสึกและเกิดกระดูกงอกมากขึ้น เกิดเสียงครืดคราดในข้อเข่าจากการเสียดสีของกระดูกงอกมากขึ้น มีการขัดและเจ็บบริเวณข้อเข่า เริ่มมีการจำกัดการเคลื่อนไหว ระยะนี้เริ่มมีอาการเข่าหลวมจากเอ็นรอบข้อเข่ายืด กล้ามเนื้อมีความแข็งแรงลดลง ทำให้ความมั่นคงและความคล่องตัวลดลง ขณะทำกิจกรรมรู้สึกติดขัด ฝืดแข็ง ไม่สามารถทำได้เต็มที่
- ระยะสุดท้ายนี้จะเห็นการผิดรูปของข้อเข่าค่อนข้างมาก เกิดความไม่มั่นคงของข้อเข่า ผู้ป่วยจะเดินโยกไปมาเคลื่อนไหวช้า เปลี่ยนท่าทางได้ช้า ทำกิจกรรมต่างๆ ลำบาก กำลังกล้ามเนื้อหน้าเข่าลดลงมากกว่า 40 % ทำให้ระยะนี้ผู้ป่วยเกิดความลำบากในการใช้งานอย่างมาก จึงมักไม่เคลื่อนไหวหรือออกกำลัง ทำให้เกิดความเสื่อมได้เร็วเพิ่มขึ้นการรักษา โดยทั่วไป ผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมในระยะแรก จะเน้นให้เคลื่อนไหวให้มาก เปลี่ยนที่ทางให้บ่อย และสามารถทำกิจกรรมต่างๆ ได้ตามปกติ
ในระยะกลาง ๆ จะเน้นให้ผู้ป่วยออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความยืดหยุ่น และความแข็งแรงของกล้ามเนื้อรอบข้อเข่าในระยะสุดท้าย เมื่อผู้ป่วยไปพบแพทย์ แพทย์อาจพิจารณาให้เข้าผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม
การรักษาทางกายภาพบำบัด สำหรับผู้ป่วยข้อเข่า
- หลังจากที่ผู้ป่วยได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมมาแล้ว ในระยะแรกก่อนที่จะตัดไหม ผู้ป่วยสามารถขยับเข่า งอ เหยียดเบาๆ น้อย ๆ ได้เท่าที่จะทำได้ ไม่ต้องฝืน การขยับเบาๆ จะช่วยให้บาดแผลตึงลดลง อาการปวด บวมก็จะลดลงด้วย
- หลังจากที่ผู้ป่วยตัดไหม บริเวณแผลผ่าตัดแล้ว (ประมาณ ๗ วัน หลังจากผ่าตัด) จะยังเห็นอาการ บวม แดง ร้อน บริเวณแผลผ่าตัดอยู่ สามารถทำการขยับ งอ เหยียดเข่าได้มากขึ้นเท่าที่ทำได้ คือ เท่าที่ตึงมาก แต่ต้องไม่เจ็บปวดมาก โดยพยายามทำบ่อย ๆ จะทำให้ความตึงตัวบริเวณแผลลดลง และสามารถฝึกกำลังกล้ามเนื้อหน้าเข่าได้ โดยพยายามเกร็งกล้ามเนื้อหน้าเข่า กดเข่าลงกับเตียง ค้างไว้ 5-10 วินาที แล้วผ่อน 10 ครั้ง/รอบ วันละ 3-4 รอบ เราสามารถเช็คว่า เราทำถูกหรือไม่ โดยขณะเกร็งเข่า ลองจับลูกสะบ้าขยับดู หากขยับได้ แสดงว่าทำยังไม่ถูกต้อง
- พยายามกดคลึงบริเวณรอบ ๆ แผลผ่าตัด เพื่อให้พังผืดนิ่มตัวขึ้น โดยอาจทำก่อนการออกกำลังกาย หรือ ทำสลับกับการงอ เหยียดเข่าได้
- หลังจากที่อาการบวมแดงรอบๆ แผลผ่าตัดลดลง หรือ หายไป (ประมาณ 1 เดือน หลังผ่าตัด) ให้พยายามงอเข่าเพิ่มขึ้นได้อีก โดยสามารถออดแรงกดเข่าให้งอเข้าได้แรงขึ้นตามความสามารถหรือ ความทนทานของผู้ป่วย ถ้าสามารถงอได้ดี ให้พยายามงอเพิ่มขึ้น โดยใช้มือข้างหนึ่งสอดใต้เข่า มืออีกข้างกดเข่าให้งอ
- ออกกำลังกายโดยกายใช้ถุงทรายใส่บริเวณข้อเท้า (อาจเริ่มที่ 1 กิโลกรัม และสามารถเพิ่มขึ้นได้ตามความสามารถของผู้ป่วย) นั่งเก้าอี้หรือนั่งบนเตียง ห้อยขาลง ดังรูป พยายามเกร็งเยียดเข่าให้สุด ค้างไว้ 10 วินาที ผ่อนลง ทำ 10-30 ครั้ง/รอบ วันละ 3-4 รอบ และสามารถเพิ่มจำนวนครั้ง/รอบ ได้ตามความสามารถ
- หลังจากหายดีแล้ว สามารถใช้งานได้ใกล้เคียงกับอีกข้างหนึ่ง ผู้ป่วยยังคงต้องออกกำลังกาย เพื่อเพิ่มกำลังกล้ามเนื้อรอบเข่าอย่างสม่ำเสมอนะคะ
arukouthailand ผลิตภัณฑ์ซัพพอร์ตเข่า คุณสามารถปรึกษาเกี่ยวกับเข่าของคุณกับผู้เชี่ยวชาญของเราได้ฟรี